9/22/2559

เชี่ยนหมาก...

ทำทัวร์วัง ก่อนพาแขกเข้าวัดพระแก้วนั้น มัคคุเทศก์บางท่านมีเวลาพอ จึงพาลูกทัวร์ขึ้นไปเดินเที่ยวช
มพิพิธภัณฑ์มงกุฏและเหรียญกษาปต์ไทยก่อน พบอยู่ข้างธนาคารที่ให้แลกเงิน พอดีผมเจอเรื่องเกี่ยวกับเชี่ยนหมากเลยพิมพ์มาให้ครับ

การเคี้ยวหมากพลูเกิดขึ้นมาก่อนที่ประเทศอินเดีย มีหลักฐานมาจากนักประพันธ์ชื่อ กาลิทาส ซึ่งเป็นกวีเอกที่มีชื่อเสียงของอินเดียในสมัยเมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว ท่านได้กล่าวไว้ในบทประพันธ์ในเรื่อง "รฆุวงศ"์ ท่านได้กล่าวถึงการเคี้ยวหมากพลูในยุคของท่านว่า "ตัมพูละธารณัม" คือการเคี้ยวหมากพลู และในกาลต่อมา วัฒนธรรมในการเคี้ยวหมากพลูก็ได้ขยายอิทธิพลไปในประเทศต่างๆ เช่น ไทย ไทยอัสสัม ลาว เขมร ญวน มลายู อินโดนีเซีย พม่า มอญ และศรีลังกา

ใบพลูเป็นใบไม้ของพระลักษมีเทวีแห่งโภคทรัพย์ ใครได้เคี้ยวใบพลูนั้นก็ย่อมเป็นที่โปรดปรานของพระลักษมี จะได้รับพรให้มั่งมี ส่วนคนไทยเราก็นำเอามาประยุกต์ใช้ในพิธีขันหมากขอลูกสาว และในขันหมากจะต้องมีใบพลูด้วยเสมอ

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เชี่ยนหมากเงินเป็นเครื่องยศสำหรับนางในอยู่งาน ส่วนเชี่ยนหมากทองคำจะเป็นของพระราชทานแด่เจ้าจอมทั้งหลาย หากเป็นเชี่ยนหมากทองคำลงยาราชาวดีพระราชทานจะเป็นของเจ้าจอมมารดาที่เป็นพระสนมเอก หากเป็นพระมเหสีเอกก็จะมีของประดับที่มีค่าบนเชี่ยนหมากมากขึ้นไปอีก ดังนั้นกระโถนบ้วนน้ำหมากก็ให้จัดอยู่ในระดับเดียวกันกับเชี่ยนหมากด้วยเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น