7/13/2559

เรื่องเล่าจากเขาสก สุราษฎธานี

สาวรัสเซียเลี้ยงลูกที่เขาสก หลังท้องกับไกด์ไทย

เรื่องราวของหญิงสาวชาวรัสเซีย ใช้ชีวิตพักพิงที่เขาสก หลังตั้งท้องกับไกด์หนุ่มคนไทย ล่าสุดเดินทางกลับเยอรมันแล้ว ด้านพ่อเด็กยืนยันไม่ได้ทอดทิ้ง วอนสังคมเข้าใจ  Russin lebt mit Baby im Wald in Thailand
ประเด็นที่คนในโลกออนไลน์กำลังให้ความสนใจ เรื่องราวของหญิงสาวชาวรัสเซียที่อาศัยอยู่ยากลำบากที่อุทยานแห่งชาติเขาสก จ.สุราษฎร์ธานี หลังจากที่เธอมีลูกกับไกด์ชาวไทย อีกทั้งยังต้องหย่าร้างกับสามีและอุ้มลูกน้อยมาอยู่เมืองไทยอย่างไร้จุดมุ่งหมาย
เรื่องราวจากเฟซบุ๊กคุณ Chaya Ch เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับ "ไลริซ่า" สาวผมบลอนด์ทองจากรัสเซีย ที่เดินทางมาจากประเทศเยอรมัน มาอาศัยอยู่ที่กระท่อมเล็กๆ มีเพียงหลังคามุงจาก ริมป่าเขาที่อุทยานแห่งชาติเขาสก จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งชาวบ้านสร้างไว้ให้พักฟรีกับลูกน้อย
ไลริซ่า เคยแต่งงานอยู่กับชาวเยอรมัน ที่ผ่านมาเธอต้องการมีลูก แต่ฝ่ายสามีคิดแตกต่าง กระทั่งเธอกับสามีมีโอกาสมาเที่ยวเมืองไทย เธอเกิดอารมณ์ชั่ววูบมีความสัมพันธ์กับไกด์หนุ่มใต้คนหนึ่ง ก่อนจะพบว่าตัวเองกำลังตั้งท้อง
กระทั่งความจริงปรากฏขึ้น เมื่อเธอตัดสินใจอุ้มท้องและคลอดลูกด้วยตัวเองที่บ้าน เพราะไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป เมื่อลูกน้อยคลอดออกมา หน้าตาน่ารัก ผมดกดำ ผิวคล้ำคล้ายคนเอเชีย ทั้งที่เธอกับสามีเป็นคนผิวขาวและนัยต์ตาสีฟ้า ทำให้กลายเป็นจุดจบของชีวิตคู่ของเธอกับชาวเยอรมัน
สาวรัสเซีย กลายเป็นคนไม่มีจุดหมายปลายทาง เธอตัดสินใจอุ้มลูกน้อยและบินกลับมาที่เมืองไทย เพียงหวังจะได้อยู่กินกับไกด์หนุ่มใต้ ซึ่งเป็นพ่อของลูกน้อย แต่ก็ไม่ได้รับการใยดีสักเท่าไหร่ ทุกวันเธอต้องเลี้ยงลูกกับอาหารที่แค่กินเพื่ออยู่ ลูกน้อยงอแงเพราะความหิว
russin lebt mit baby im wald von thailand
เจ้าหน้าที่อุทยานยังพออนุโลมให้เธอได้พักอาศัยและเมตตากับเธอ ซึ่งเธอเองก็อาสาทำหน้าที่พานักท่องเที่ยวเดินป่า รวมทั้งเป็นล่ามภาษารัสเซียหรือเยอรมัน กลายเป็นภาพบางมุมที่นักท่องเที่ยวที่เขาสกอาจจะได้พบเจอกับสาวรัสเซียคนนี้ พร้อมกับลูกน้อยของเธอ
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวดังกล่าวถูกโพสต์เผยแพร่เอาไว้ เมื่อกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากประเด็นดังกล่าวได้รับความสนใจในโลกออนไลน์ ตรวจสอบล่าสุดพบข้อมูลว่า "ไลริซ่า" ได้เดินทางกลับประเทศเยอรมันไปแล้ว และคาดว่าจะเดินทางกลับมาอีกครั้งในช่วงปลายปีนี้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเพื่อนของไกด์หนุ่มชาวไทย ได้ออกมาชี้แจงว่า ฝ่ายของไกด์หนุ่มเองไม่ได้ทอดทิ้งสาวรัสเซียกับลูกน้อยแต่อย่างใด ยังคงแสดงความรับผิดชอบต่อชีวิตของแม่ลูก พร้อมกับวอนให้สังคมเข้าใจถึงประเด็นครอบครัว
russin lebt mit baby im wald von thailand
 Hana Momkip ขอโทดนะค่ะเป็นคนเขาศกเกิดที่นั้นเลย เกิดที่อานามัยที่นั้นเลย และปัจจุบันก็ยังอยู่. และที่สำคัญเป็นเพื่อนกับพ่อของเด้กเองได้คุยกับเพื่อนคนนี้แล้วไม่ได้ทอดทิ้งนะค่ะตอนนี้ก็อยู่ด้วยกัน. ไปใหนไปด้วย. อย่าฟังความข้างเดียวผู้หญิงคนนี้ชอบเดินป่า เพื่อนเราเป็นไกท์. กลางวันก็พาแขกไปโน้นไปนี่. ขอให้เข้าใจด้วยค่ะ
baby das mit russin im wald lebt
  
 " มายา..มายา.." เสียงเรียกลูกของหญิงสาว ร่างเล็ก ผมบรอน์ ผิวเธอเนียนขาวซีด ดวงตาสีฟ้าอ่อนโรยบอกถึงความเหนื่อยล้า...ทารกวัยสามเดือน ร้องจ้าอยู่ตลอดเวลา สี่งที่เธอทำได้คือล้วงนมจากอกให้ลูกดูด..แต่เด็กน้อยยังคงร้องจ้า...เพราะความหิว หน้าอกเธอเหี่ยวแฟลบยังกะคนไม่เคยมีลูก ..น้ำนมจาก..อกเธอไม่มีเพียงพอให้ลูกดื่มนั้นเอง และตัวเธอก็ทาน..แต่ผลไม้ หรือ raw food สารอาหารจึงไม่มีเพียงพอเข้าไปบำรุงร่างกายเพื่อผลิตเป็นน้ำนมให้ลูกดื่ม..  post von thailänderin
"ไลริซ่า" สาวน้อยผมบรอน์ ผิวสวย แห่งรัสเซีย .เธอมาจากเยอรมัน บ้านเธออยู่ที่เยอรมัน....และเธอก็มาอาศัย กระท่อมที่ไม่มี ฝาผนังกั้น หลังคามุงจาก.ป่าริมเขาอันสูงตระหง่าน...ที่ชาวบ้าน สร้างเป็นรีสอร์ท ราคาถูกๆ ให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเขาสกไว้พัก ซึ่งก็มีไม่ถึง 10 หลัง...แน่นอนเธอกับลูกพักฟรี ...จึงมีแต่หลังคากับ มุ้งกันยุงหลังหนึ่งไว้ให้เธอกับลูกซุกหัวนอน...
ไลริช่า..แต่งงานกับหมุ่นใหญ่ชาวเยอรมันนี...อยู่กับมาสิบปี เธออยากมีลูกแต่สามีเธอไม่อยากมี.....เธอกับสามีคงมีโอกาสมาเที่ยวเขาสก ฉันไม่รู้ว่าเธอตกหลงรัก ไกด์ไทย..หนุ่มใต้..หรือแค่อารมณ์ชั่ววูบ..แน่นอนเธอเกิดตั้งท้องขึ้นมา..จุดจบคือสามีขออย่า...เพราะทารกที่ออกมา...ผมดกดำ...ตาดำผิวคล้ำสไตล์คนไต้ เต็มฉบับ.ทั้งที่แม่ผิวขาวสวย ตาสีฟ้า ผมบรอน์...และสามีเธอก็เช่นกัน...
........ฉันฟังเธอเล่าด้วยอาการเดาความรู้สึกไม่ออก...ตอนที่เธอคลอดลูกคนเดียวที่บ้าน.ที่เยอรมัน..เธอไม่ได้ไปคลอดที่โรงพยาบาล..ฉันไม่ได้ถามถึงสาเหตุ..แต่คงคิดว่ามันคงเป็นค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาลสำหรับเธอ..แน่นอนว่าเธอจัดการทุกอย่างคนเดียวในห้อง..มันเป็นอะไรที่ไม่สามารถบอกความรู้สึกได้เมื่อได้ฟัง คลอดลูกได้แค่สองเตือนเธอก็..เก็บเสื้อผ้ามีเงินแค่ค่าตั๋วบินหอบลูกมาเมืองไทย.....
.อาศัยหากินด้วยการเป็นไกด์เถื่อน.แผงตัวอยู่ในไกด์จริง..หนุ่มไกด์ไทยพ่อของทารกน้อย ก็คงไม่ใยดีอะไรมากนัก...คงแค่สนุกเพราะข้างกายเขาในแต่ละวัน..คงมีนักท่องเที่ยวสาวจากทุกมุมโลกให้มีอะไรตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา..โชคดีที่เธอพูดได้พาแขกเดินป่ากับไกด์ไทยเธอเป็นคนบรรยายเป็นภาษาเยอรมันหรือไม่ก็รัสเซีย เจ้าหน้าที่อุทยานรู้จักเธอดีทุกคน..บางคนยังเมตตาช่วยดูทารกน้อยให้ในเวลาสั้นๆ..ส่วนมากทารกน้อยก็ไปกับเธอด้วย...ทั้งที่เด็กมีอาการงอแงตลอดเวลา..เพราะความหิว..น้ำนมจากอกแม่ไม่มีให้เพียงพอ.. ต่อมอารมณ์..เสือกฉันทำหน้าที่ทันที... .............. เมื่อเด็กน้อยร้องให้ไม่หยุด...ฉันไม่ใช่คนขอบเด็ก...แต่ก็ไม่ถึงขนาดไม่จับ... ฉันอุ้มเด็กให้ท้องทารกน้อยเพาดที่แขน.ลมจากท้องตีขึ้นทำได้เด็กเรอ...สักพักเด็กหยุดร้อง...นอนหลับใน อ้อนแขน เราเดินมาถึงริมธารน้ำใส..
ฉันพาเพื่อนสาวชาวยุโรปมาเที่ยว.เดินป่าที่เขาอุทยานแห่งชาติเขาสก.ไลรีซ่ากับลูกจึงขอติดตามมาด้วย...การเดินป่าในวันนั้นจึงเป็นหง่อย...ฉันกับเพื่อนอยากลงไปว่ายน้ำที่ลำธาร..ปล่อยให้ไลริซ่าอุ้มลูกรอ..ทารกน้อยตื่น แล้วร้องเธอทำได้แค่ยัดนมใส่ปากสลับกันกับเรียก..มายา..มายา นั้นคือชื่อของทารกน้อย..
...ฉันทนไม่ไหวเอาผ้าพันคอตัวโปรด ผืนใหญ่...ผูกติดกับเถาวัลย์ใหญ่ที่เลื้อยพาดไปอีกต้น..เป็นเปลนัอยและบอกให้เธอเอาเด็กมานอนทารกน้อยหลับให้เปลสบาย.... ฉันบอกให้ ไลริซ่าลงไปว่ายน้ำได้..เธอนั่งลงบนก้อนหิน สายตาอิดโรย แต่ยังคงความสวย
........เธอคงหิวฉันยื่นแตงโมที่ติดไปด้วยให้เพราะเห็น อาหารเที่ยงของเธอคือถั่วลิสงคั่วกำมือเดียว.....อาหารเช้าเธอก็แค่ผลไม้ น้ำเธอก็แทบไม่ได้ดื่ม
ก่อนกลับฉันเรียกมาอบรม..เธอฟังภาษาอังกฤษไม่ค่อยเข้าใจ..จึงขอให้เพื่อนสาวที่เป็นชาวเยรมันมาช่วย......แค่บอกให้เธอดื่มน้ำร้อนหาสมุนไพรมาบำรุงน้ำนมทานอาหารที่บำรุงร่างกาย...จะอยากทานอะไรก็หยุดไว้ก่อนเพราะ..ไม่งั้นทารกน้อยของเธอก็จะงอแงอยู่ตลอดหลับได้ไม่ถึง สิบนาทีก็ตื่น และอะไรอีกหลายอย่าง เธอเข้าใจ และขอบคุณเธอรู้สถานะการณ์ ถ้าไม่ทำตามที่บอกเธอนั้นแหละจะเป็นคนเดือดร้อน....
เช้าวันต่อมาฉันตื่นแต่เช้า อากาศค่อนข้างเย็น ฉันขออนุญาติเจ้าของรีสอร์ทไปเดินสวนผลไม่หาเก็บสมุนไพร บำรุงน้ำนมมาไปให้เธอ..ได้ ตำลึงเต็มกำ,น้ำนมราชสีห์, ชบาดอกแดง,มะละกอดิบ,แค่นี้คงเพียงพอ.
ก่อนกลับจากเขาสก แวะไปหาเธอทารกน้อยยังร้องงอแง..ตัวแม่ก็เปิดนมเหี่ยวโชว์
ทริปเดินป่า...เขาสกครั้งนี้ฉันเลยกลายเป็นคนแก่ ไปเลย
พิมพ์พิชญ์ชา 07/02/15 ณ อุทยานแห่งชาติเขาสก.

7/12/2559

ถ้ำพระยานคร

Day 1  ล่องเรือ เดินเขา ชมถ้ำพระยานคร, เขาสามร้อยยอด 
จริงๆทริปหลักคือมาเที่ยวหัวหิน แต่วันที่จะกลับกรุงเทพ ไม่รู้จะไปเที่ยวไหนในหัวหินละ เลยคิดว่าขับรถมาปราณบุรี ไปเที่ยวเขาสามร้อยยอดดีกว่า เพราะว่าไม่ไกลจากหัวหินมากใครที่มาหัวหิน ก็มาเที่ยวที่นี้ต่อได้
สำหรับการเข้าชมถ้ำพระยานคร เราขับรถมาจอดที่หมู่บ้านบางปูและต่อเรือค่ะ ซื้อตั๋วค่าเข้า คนละ 40 บาท การเดินทางไปถ้ำ มี 2 ทาง นะคะ คือ 

1. ทางเรือ โดยเช่าเรือในบริเวณหมู่บ้านบางปู ราคา 400 บาทต่อลำ (ไป-กลับ) นั่งได้ประมาณ 6-7 คน ไปหลายคนก็แชร์ได้ค่ะ จะเหลือคนละไม่ถึงร้อยบาท ใช้เวลาเดินทางอ้อมเขาไปลงหาดแหลมศาลา ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีค่ะ 

2. เดินเท้าข้ามเขาเทียนที่มีระยะทางประมาณ 500 กว่าเมตร ใครแรงเยอะ ก็เดินกินลมชมวิวได้ค่ะ
พอนั่งเรือมาถึงหาดแหลมศาลา ก็จะต้องเดินเท้าขึ้นเขาเพื่อเข้าไปที่ถ้ำระยะทางอีกประมาณเกือบ 500 เมตร คือ แอบเหนื่อยอยู่เหมือนกันค่ะ เพราะทางค่อนข้างชัน แต่ก็ได้บรรยากาศการเดินขึ้นเขาไปอีกแบบ
บรรยากาศระหว่างทางก่อนถึงถ้ำ
เมื่อเข้ามาในถ้ำแล้ว ก็จะพบกับ "พระที่นั่งคูหาหาสน์" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้น สวยมากค่ะ คุ้มกับที่เดินเหนื่อยมา
เสร็จแล้วก็เดินทางกลับมารอขึ้นเรือค่ะ จบไปอีก 1 ทริป ที่ใช้เงินไม่มาก แต่สวยประทับใจค่ะ

แม่สะเรียง

‘พวกเรา’ มาถึงหมู่บ้านแม่สามแลบก่อนเที่ยงเล็กน้อย
หลังจากที่ต้องผจญกับโค้งนับร้อยโค้งตลอดคืนบนเส้นทางจากกรุงเทพฯถึงตัวอำเภอแม่สะเรียงและจากตัวอำเภอแม่สะเรียงถึงหมู่บ้านแม่สามแลบ ระยะทางที่เหลือ คือ ถนนลูกรังที่เต็มไปด้วยฝุ่นสีแดงและคันดินระหว่างหน้าผาที่ถล่มเป็นโพรงลึกตลอดเส้นทาง
จุดหมายของการเดินทาง คือ งานพิธีบวชป่าสาละวินเฉลิมพระเกียรติ ‘ในหลวงของเรา’ งานบวชป่าสาละวินเฉลิมพระเกียรติ (6-9 พ.ค. 51) ถูกจัดขึ้น 2 จุด จุดแรก คือ หมู่บ้านท่าตาฝั่ง จุดที่2 คือ หมู่บ้านแม่ดึ๊ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน การเดินทางไปยังจุดบวชป่าทั้ง 2 จุด จะต้องโดยสารเรือ จากหมู่บ้านแม่สามแลบ ล่องไปตามลำน้ำสาละวินซึ่งเป็นท่าเรือใหญ่
เรือขนควาย(เรือขนสินค้าและสัตว์ขนาดใหญ่ไปขายยังหมู่บ้านตามแนวชายแดนไทย-พม่า) ขนาดบรรทุก 100 คน 3 ลำและเรือเร็วอีก 1 ลำ รออยู่ที่ท่า อากาศต้นฤดูฝนอบอ้าวปนชื้นเล็กน้อย ผู้ร่วมงานเริ่มทยอยกันลงเรือ เฉลี่ยลำละ 50-80 คน รวมเรือเร็ว อีก 30 คน คำนวณจากสายตาไม่น่าจะต่ำกว่า 300 คน
นั่นหมายถึง ความสำคัญของพิธีการอันยิ่งใหญ่นี้
แม่น้ำสาละวิน ถูกบันทึกเอาไว้ว่าเป็นแม่น้ำสายนานาชาติ ยาวกว่า 2,820 กิโลเมตร เริ่มจากสายธารน้ำแข็งเล็กๆ บนเทือกเขาหิมาลัยในเขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน ลัดเลาะผ่านหุบเขาน้อยใหญ่ในมณฑลยูนนาน เข้าสู่รัฐฉาน รัฐกะเรนนี รัฐกะเหรี่ยง กั้นเส้นพรมแดนระหว่างไทย-พม่า ก่อนวกกลับเข้าพม่าอีกครั้งและไหลลงสู่ทะเลอันดามันบริเวณเมืองมะละแหม่ง ทั้งหมดนี้ หมายถึง แม่น้ำสายยาวอันดับที่ 26 ของโลก
เฉพาะจุดพรมแดนไทย-พม่า ลุ่มน้ำแห่งนี้มีความยาวทั้งสิ้น 127 กิโลเมตร ไหลผ่านอำเภอแม่สะเรียงและอำเภอสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน และยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำสาขาสายใหญ่ที่คนไทยคุ้นเคย อย่างเช่น แม่น้ำปาย แม่น้ำเงา แม่น้ำยวม แม่น้ำเมย แม่น้ำสุริยะและแม่น้ำกษัตริย์ ใน จังหวัดกาญจนบุรี ตาก เชียงใหม่และพื้นที่ส่วนใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
..........
เรือขนควาย ค่อยๆ เคลื่อนตัวออกจากท่าอย่างช้าๆ ตามขนาดความใหญ่โตของมัน เสียงเครื่องยนต์ของรถบรรทุก 6 ล้อ คำรามลั่น คนขับเรือผู้ชำนาญค่อยๆ ถอยหัวเรือออกจากฝั่งบ้านแม่สามแลบ เด็กผู้ช่วยอีก 2 คน ขยับพายอันใหญ่อยู่ในมือ ทั้งถ่อและค้ำส่งเรือให้ไหลไปตามลำน้ำอย่างเชื่องช้า หากตัวเรือเบนเข้าหาเรือลำอื่น ผู้ช่วยทั้ง 2 คน จะทั้งผลักทั้งดันให้เรือเบนออกห่างจากกันอย่าง ‘คนเป็นงาน’
สำหรับพวกเรา ผู้โดยสารหน้าใหม่ ได้แต่ยืนลุ้น ไม่ให้เกะกะการทำงานของนักเดินเรือก็เพียงพอแล้ว
หมู่บ้านแม่สามแลบ กลายเป็นจุดเล็กๆ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน หมู่บ้าน ขนาด 280 ครัวเรือน (1,593 คน) ตั้งเป็นแนวขนานกับฝั่งแม่น้ำ ยอดพระธาตุวัดแม่สามแลบสีทองอร่ามโดดเด่นชัดเจน แม่สามแลบถือเป็นศูนย์กลางการค้าบริเวณชายแดนไทย-พม่า ที่มีความสำคัญมาตั้งแต่ครั้งอดีตและยังเป็นแหล่งพำนักพักพิงของคนหลากหลายเชื้อชาติ หลากหลายศาสนา
เริ่มจากบริเวณห้วยแม่สามแลบ บนถนนไปตัวอำเภอแม่สะเรียงเป็นชุมชนไทใหญ่ เลี้ยวเลาะตามทางลาดลงหมู่บ้านเป็นที่ตั้งของชุมชนกะเหรี่ยง ถัดมาเป็นชุมชนมุสลิมและมัสยิดหมู่บ้านแม่สามแลบ ผ่านโรงเรียนแม่สามแลบ ผ่านร้านค้าและตัวหมู่บ้านเรียงรายเลียบไปตามแนวฝั่งแม่น้ำ ก่อนจะขึ้นเนินน้อยๆ ผ่านฐานทหารพรานและบ้านพักอุทยานแห่งชาติสาละวิน เป็นที่ตั้งของชุมชนกะเหรี่ยงคริสต์และโบสถ์
ทั้งหมด อยู่ด้วยกันแบบพี่แบบน้องร่วมแผ่นดิน
โดยทั่วไป ชาวกะเหรี่ยงจะประกอบอาชีพรับจ้างและขับเรือ ชาวมุสลิมและไทใหญ่จะรับจ้างแบกสินค้า แต่ส่วนใหญ่แล้ว ชาวบ้านในพื้นที่จะมีอาชีพเกษตรกรรมทำไร่ข้าวและปลูกผักริมหาดเป็นหลัก
สินค้าหลักบริเวณหมู่บ้านแม่สามแลบเป็นสินค้า จำพวก น้ำมันพืช เสื่อ รองเท้า ยาง ผงชูรส รถจักรยาน โทรทัศน์ ส่งออกไปยังฝั่งพม่าบริเวณหมู่บ้านตะกอท่า (สุดเขตประเทศไทย) แล้วเปลี่ยนเป็นเรือขนสินค้าของประเทศพม่า ส่งต่อไปยังเมืองมอลาแคะ เมืองลอยก่อง
ก่อนกระจายสินค้าไปยังจุดต่างๆ ภายในประเทศพม่า
..........
แม่น้ำสาละวินเต็มไปด้วยโขดหินน้อยใหญ่ตลอดลำน้ำ มีเพียงนักเดินเรือผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่สามารถนำเรือและผู้โดยสารหรือสินค้าลัดเลาะเป็นตามร่องน้ำได้อย่างปลอดภัย จากหัวถึงท้ายเรือ ความยาวมากกว่า 10 เมตร ผู้โดยสารทุกคนต้องนั่งลงเพื่อให้คนขับได้บังคับเรือไปตามทิศทาง ส่วนลูกเรืออีกสองคนจะประจำอยู่ที่หัวเรือเพื่อดูเส้นทางและคอยประสานเมื่อต้องผ่านจุดตรวจเรือทั้งของไทย กะเหรี่ยงและพม่า
จากหมู่บ้านแม่สามแลบถึงท่าตาฝั่ง กินระยะทาง 1 ชั่วโมงเศษ ผู้ร่วมพิธีทุกคนบนเรือต่างหลบแดดอยู่ในผ้าใบผืนเดียวกัน ป่าโปร่งผลัดใบยืนต้นแน่นขนัดอยู่บนเนินตลอดสองฝั่ง บางช่วงน้ำไหลเชี่ยวและรุนแรง เรือขนควายซึ่งเป็นไม้ทั้งลำจะโคลงวูบวาบซ้ายทีขวาที ละอองน้ำแตกกระจายเป็นฟองฝอย
สายลมเย็นๆ จากการเคลื่อนตัวของเรือช่วยให้คลายร้อนได้บ้าง บางจุดมองเห็นชุมชนชาวกะเหรี่ยงเป็นเงาตะคุ่มอยู่หลังชายป่าริมฝั่ง บนเนินทรายบางแห่งมองเห็นเด็กๆ เล่นน้ำ ช่วยพ่อแม่ซักผ้า ขนของ บางจุดเป็นเรือขายสินค้าจำพวกน้ำดื่ม ขนมเล็กๆ น้อยๆ คล้ายกับเซเว่น อีเลฟเว่น กลางแม่น้ำสาละวิน
เมื่อเรือของเราผ่านไป ชาวบ้านริมน้ำจะโบกมือทักทายกันอย่างเป็นมิตร
อีกไม่นานเรือจะเข้าเทียบท่าที่หมู่บ้านท่าตาฝั่ง
..........
ท่าจอดเรือหมู่บ้านท่าตาฝั่งเป็นเนินสูง ลูกเรือทุกคนต้องใช้กำลังขาเล็กน้อยเพื่อปีนป่ายขึ้นไปยังปากทางเข้าหมู่บ้าน ชาวบ้านรู้แล้วว่าจะมีแขกมาเยือน ทั้งผู้ใหญ่และเด็กต่างพากันทยอยลงมาเพื่อช่วยยกกระเป๋าสัมภาระ สำหรับแขกที่ไม่สามารถแบกขึ้นไปเองได้
ถนนเข้าหมู่บ้านจะเลียบหาดและลำห้วย เนินสูงทางด้านขวามือเป็นที่ตั้งอาคารบ้านพักนักท่องเที่ยวซึ่งมองเห็นทิวทัศน์ริมฝั่งแม่น้ำสาละวินได้อย่างชัดเจน ถัดไปอีกประมาณ 100 เมตร จะเป็นฐานทหารพรานและบ้านพักสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่หุบเขาและมีประวัติศาสตร์ต่อเนื่องยาวนานนับ 100 ปี ลำห้วยสาขาจากแม่น้ำสาละวินไหลผ่านบริเวณรอบๆ หมู่บ้าน ชาวบ้านท่าตาฝั่ง เรียกกันในชื่อ ลำห้วยแม่กองคา ใช้หล่อเลี้ยงชีวิต ทำไร่ข้าวและปลูกพืชริมหาดมาตั้งรุ่นพ่อรุ่นแม่ยังเป็นหนุ่มเป็นสาว
นับตั้งแต่การก่อตั้งหมู่บ้านครั้งแรกโดยพ่อจออู ศรีมาลี ผู้สัญจรไปมาในแม่น้ำสาละวินต่างเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า ‘บ้านน้อย-จออู’ กระทั่งปัจจุบัน หมู่บ้านท่าตาฝั่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มบ้าน คือ บ้านท่าตาฝั่งและบ้านแม่ปอ มีจำนวนประชากรทั้งหมด 600 คน
นับถือศาสนาคริสต์ แบ๊พติสต์และศาสนาพุทธ-ผี ตามความเชื่อและศรัทธา
จุดบวชป่าบ้านท่าตาฝั่งจะต้องเดินขึ้นไปทางเหนือของหมู่บ้าน ตัดลำห้วยแม่กองคา ขึ้นไปยังป่าจุดที่ทำการอุทยานแห่งชาติสาละวิน พิธีกรรมจะเริ่มในเช้าวันถัดมา (ที่ 8 พ.ค. 51)
คืนนี้ แขกผู้มาเยือนแต่ละกลุ่มจะพักตามบ้านของชาวบ้านแต่ละหลัง พวกเรากลุ่มหนึ่ง พักที่บ้านพ่อมานะและแม่กรือแด
บ้านพ่อมานะมุงหลังคาด้วยใบตองตึง ตัวบ้านอยู่ลึกลงไปในดินตามความลาดชันบนเนินสูงประมาณ 1 เมตร หลังคาจะคลุมตัวบ้านทั้งหลังเพื่อป้องกันลมหนาว โครงบ้านทำด้วยแผ่นไม้กระดานและเสาเรือนเป็นไม้ซุงทั้งท่อน มีโครงหลังคาบางส่วนและครัวเป็นไม้ไผ่ ภายในบ้านแบ่งเป็น 2 ห้องนอนและ1 ห้องครัว ส่วนห้องน้ำแยกจากตัวบ้านติดลำห้วยแม่กองคา
พ่อมานะเกิดและเติบโตที่หมู่บ้านท่าตาฝั่ง ส่วนพ่อแม่อพยพหนีภัยสงครามมาจากฝั่งพม่า เป็นคนยิ้มง่าย ผมซอยสั้น ไหล่หนาไม่เล็กและใหญ่จนเกินไป รูปร่างบอบบาง ชวนพวกเราพูดคุยอยู่ตลอดเวลา ส่วนแม่กรือแด ทำได้แค่ยิ้มเท่านั้นเพราะผู้หญิงกะเหรี่ยงมักจะพูดภาษาไทยไม่ได้ ยกเว้น เด็กๆ รุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือ ส่วนพวกเราทักทายเป็นภาษากะเหรี่ยงได้ไม่กี่คำ
ออเม กินข้าว
ต่าบลึ๊ ขอบคุณและสวัสดี
..........
ช่วงเช้า (8 พ.ค.51) ชาวบ้านจากหมู่บ้านท่าตาฝั่งและแขกผู้มาเยือนมารวมตัวกันริมห้วยแม่กองคาทางด้านหลังหมู่บ้านมากกว่า 400 คน เพื่อตั้งขบวนแห่ไปยังบริเวณจุดบวชป่า ทั้งเด็กๆ และผู้ใหญ่อยู่ในชุดเสื้อผ้าใหม่เอี่ยม เป็นชุดชนเผ่าทอมือ ลายแดงสลับสีขาว ทิวธงสีเหลืองเฉลิมพระเกียรติชูสลอน
พิธีกรรมบวชป่าเฉลิมพระเกียรติ จะเริ่มขึ้นในอีกไม่ช้า
จุดบวชป่าบ้านท่าตาฝั่งตั้งอยู่บนเนินสูง ลาดหุบอีกด้านติดฝั่งแม่น้ำสาละวิน จุดที่เรียกว่า โค้งน้ำตากวิน (พื้นที่โครงการเขื่อนสาละวินตอนล่าง บ้านท่าตาฝั่ง) เวทีธรรมชาติอย่างง่ายถูกสร้างขึ้นเพื่อประกอบพิธีกรรมบวชป่า เสาสูงขึงป้ายผ้าเขียนด้วยตัวอักษร “พิธีบวชป่าสาละวิน บ้านท่าตาฝั่ง” ถูกขึงตึง ทหารพรานพร้อมอาวุธครบมือจากฐานภายในหมู่บ้านเข้าประจำการเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัย
พิธีกรรมบวชป่าหรือ ‘หลื่อปก่า’ ของชาวกะเหรี่ยงไม่มีสิ่งใดซับซ้อน การประกอบพิธีกรรมแยกออกไปตามหลักความเชื่อทางศาสนา คือ พุทธ คริสต์ อิสลามและผี ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง พิธีกรรมตามความเชื่อผีถูกสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่า ป่ามีเจ้าของ
ส่วนมนุษย์นั้น เป็นเพียงผู้อาศัยประโยชน์ เพื่อให้มีชีวิตรอดเท่านั้น
ผู้ประกอบพิธีกรรมจะผ่านการคัดเลือกจากผู้เฒ่าภายในหมู่บ้าน เริ่มต้นด้วยการตั้งศาลเจ้าที่ทำง่ายๆ ด้วยไม้ไผ่ยกพื้นระดับเอว มีเสาไม้ไผ่ 6 ต้น มุงหลังคาด้วยใบตอง โครงของตัวศาลจักตอกสานเป็นตะแกรง ทำบันไดทางขึ้นจากพื้นจรดประตูศาล มีกระบอกน้ำไม้ไผ่และเครื่องเซ่น จำพวก ไก้ต้ม เนื้อหมู ข้าวสาร ดอกไม้และเทียนขึ้ผึ้ง เตรียมพร้อมเอาไว้ภายในศาล
เมื่อเริ่มประกอบพิธี ผู้ประกอบพิธีหรือผู้ประกอบศาลเจ้าจะแบ่งเครื่องเซ่นไหว้ทุกอย่างวางลงภายในศาลเจ้า จุดเทียนขี้ผึ้ง นั่งคุกเข่า ประนมมือ ผู้เข้าร่วมทุกคนประนมมือ กล่าวเป็นภาษากะเหรี่ยง
“ขออัญเชิญเทพยดา เทพารักษ์ ผีน้ำ ผีป่า ผีเขา ทุกที่ทุกแห่งมาสถิตย์(ที่ศาล)มารับเครื่องเซ่นไหว้ที่ชาวบ้านได้นำมา เพื่อบอกกล่าวเจตนาให้เทพยดาทั้งหลายช่วยดูแลผืนป่า ผืนฟ้า ผืนดิน ผืนน้ำแห่งนี้ ไม่ให้ถูกรบกวน คุ้มครองคนที่เข้าร่วม มีจิตเจตนาที่ดี ให้โชคดี ให้ปลอดภัย จากความเจ็บไข้และภัยอันตราย”
หากใครฝ่าฝืนจะเจ็บป่วยหรือเกิดเหตุการณ์ร้ายโดยไม่รู้สาเหตุ
..........
พ่อตุ๊ดตู่ มาลาศรีสมร ผู้ประกอบพิธี เป็นชายรูปร่างสันทัด อายุย่าง 60 ปี ใส่แว่นหนา อธิบายถึงพิธีกรรมบวชป่าว่า พิธีกรรมบวชป่าเกิดขึ้นมานานนับ 100 ปี
จากยุคปู่ย่าตายายจนยุคปัจจุบัน พิธีกรรมความเชื่อนี้เปลี่ยนไปตามสภาพ
เมื่อก่อนเป็นเรื่องของผีล้วนๆ และการผูกผ้าตามต้นไม้จะใช้ผ้าฝ้ายเป็นหลัก ปัจจุบัน เป็นผ้าจีวรสีเหลืองและผ้าสีขาวและมีพิธีกรรมทางพุทธ คริสต์ อิสลามมาร่วมด้วย แต่จุดประสงค์หลักของการบวชป่ายังคงเหมือนเดิม คือ เลี้ยงผีน้ำ ผีป่า ผีเขา ให้ช่วยดูแลชาวบ้านและป้องกันเหตุเภทภัย นอกจากนี้ ยังได้เซ่นไหว้ ‘เก๊าผี’ ซึ่งเป็นผีใหญ่หรือจ้าวแห่งผีอีกด้วย
ครั้งนี้ ใช้ต้นสักใหญ่เป็นต้นไม้หลักในการประกอบพิธีกรรม อันเปรียบเสมือนจ้าวแห่งต้นไม้ นอกจากจะระลึกถึงบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย พ่อเฒ่ายังส่งดวงใจระลึกถึงบุญคุณของในหลวงและราชินี อีกด้วย
“การบวชป่าท่าตาฝั่ง 1,800 ไร่ ในครั้งนี้เป็นการบวชป่าเฉลิมพระเกียรติในหลวงและราชินีของเรา พระองค์ทั้ง 2 ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ การบวชป่าเป็นการสร้างพื้นที่อนุรักษ์ จะไม่มีการตัดไม้หรือบุกรุกแผ้วถางเพื่อไปใช้สอย ให้ความเคารพต่อชีวิตสัตว์ ต้นไม้และยังได้ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองให้ในหลวงมีพระชนมายุยืนนาน ใครบุกรุกแผ้วถาง ถือเป็นการละเมิดข้อตกลงและดวงใจของในหลวง”
“แล้วมีคนละเมิดข้อตกลงบ้างหรือเปล่า”
“มี บางคนรถคว่ำ บางคนไม่สบายอย่างไร้สาเหตุ เก๊าผี จะคุ้มครองคนที่ไม่ละเมิด แต่ต้องมาพร้อมกับการทำความดีนะ” พ่อเฒ่าขยับแว่นอันหนา ก่อนมีรอยยิ้มน้อยๆ อย่างคนอารมณ์ดี
..........
ผู้ร่วมงานแต่ละคนหยิบผ้าสีเหลืองฝาดคร่ำหรือผ้าสีขาว ตามความถนัด ไปผูกที่โคนต้นไม้รอบๆ บริเวณพิธี แดดสายแหย่สายลงมาตามกิ่งใบของป่า ริมฝั่งสาละวิน
เด็กๆ มีรอยยิ้มแม้เหน็ดเหนื่อยและร้อนอ้าว
พวกเราเดินทางต่อไปยังจุดบวชป่าอีกจุด แก่งเว่ยจี ที่ตั้งโครงการเขื่อนสาละวินตอนบน
..........

เลตองคุ ตาก

บ้านเลตองคุ หนึ่งในไทยแลนด์
              ไม่มีสถิติที่เป็นทางการว่า แผ่นดินดอยลอยฟ้า ทั้งอุ้มผาง มีประชากรที่เป็นชนเผ่ากี่เผ่า แต่ละเผ่ามีอยู่กี่คน แล้วคนเมือง(ไทยเหนือ)ที่อยู่ผสมปนเปกันเล่าจะมีอยู่สักกี่คน คนจีนแท้มีไหม คนจีนลูกผสมมีไหม ผมจึงจนด้วยเกล้าว่า จะเซาะหาเอกลักษณ์ของอุ้มผางจากเรื่องราวใดกันหรือ ในเมื่อสถิติที่เห็นมีเพียงว่า แต่ละตำบลมีคนเท่าไร สาระสำคัญแห่งวัฒนธรรมประเพณีและศิลปะที่ควรอนุรักษ์หรือจารึกไว้ ไม่ปรากฎ ผมไปเที่ยวงานไทยทรงดำเมื่อเร็วๆนี้ แม้ไม่มีสถิติให้ค้นหาแต่ก็มีเอกลักษณ์ที่เป็น "ไทยทรงดำ"หรือลาวโซ่ง เด่นชัด
 
บ้านใต้ถุนสูงที่เห็น
              ถ้าผมเป็นคนหนึ่งของอุ้มผาง ผมก็อยากรู้ว่า มีประชากรที่อยู่อาศัยในแผ่นดินเดียวกันนี้มีกี่เผ่ามีกี่คน ถ้าผมมั่นใจได้ว่าบนแผ่นดินดอยลอยฟ้าที่ชื่อว่า อุ้มผาง มีประชากรที่มากกว่าเผ่าใดๆเป็นกะเหรี่ยง ผมก็อยากจะกล่าวว่า น่าจะหยิบยกเอาศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตและความเชื่อ ของชนเผ่ากะเหรี่ยงขึ้นมาเป็นเอกลักษณ์ของอุ้มผาง แต่ด้วยเหตุที่ผมไม่สามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้ จึงได้แต่เพียงกล่าวลอยๆไปตามบทของการเขียนสารคดีท่องเที่ยวธรรมดา ไม่สามารถอ้างอิงไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาและวิจัยได้ ขอโทษครับ
 
บ้าน
             ย้อนกลับมาที่บ้านเลตองคุ หลังเช้าตรู่ที่แสนงาม หลังอาหารเช้าที่เรียบง่ายในโรงอาหารของโรงเรียน ผมเดินแยกจากทุกคนเพื่อหาเรื่องราว หามุมภาพ หาวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ฤาษีแห่งเลตองคุ หมู่ที่ 10. ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก แดนดินถิ่นไกลสุดชายแดนตะวันตกตะเข็บชายแดนไทยเมียนม่าร์ ซึ่งเป็นจุดที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 40 เมตร นั่นหมายถึงว่าเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาด้านน้ำไหลไปยังแม่น้ำฝั่งประเทศเมียนม่าร์ แม่น้ำสุริยะ 
 
ฝาบ้านจากต้นหมากพื้นจากไม้ไผ่
             ผมเดินถ่ายรูปไปตามถนนกลางหมู่บ้าน ได้เห็นบ้านเรือนที่ปลูกสร้างสองฝั่งถนนราดฝุ่นสายนี้มีรูปลักษณ์ที่เรียบง่าย มีทั้งบ้านชั้นเดียวใต้ถุนสูง หลังคามุงด้วย"ตับใบหวาย"ที่สานแบบ "ตับจาก"ทางถิ่นไทยใกล้ทะเล เสาไม้กลม ขนาดกำลังพออยู่อาศัยไม่ได้ใหญ่เหมือนการปลูกบ้านของชาวล้านนาหลายจังหวัด(แพร่-ลำปาง-พะเยา-น่าน-สุโขทัยฯลฯ) ไม้คาน เส จันทันใช้ตามสภาพของท้องถิ่น บางบ้านปลูกด้วยไม้แปรรูปถาวร ดูดีมีฐานะ ขนาดบ้านจะหลังใหญ่กว่า อันแสดงถึงฐานะของแต่ละหลังคาเรือนด้วย 
 
ยกร้านตากหมากหน้าบ้าน
            หน้าบ้านมี "ยกร้าน" ปลูกด้วยเสาสั้นประมาณ 4 ศอก ปูด้วยกระดานหรือฟากตามแต่ฐานะ ใช้ประโยชน์ในการ"ตากหมาก" ซึ่งเป็นหมากแก่ตากแห้ง ก่อนนำไปฝานด้วยมีดคมๆ เพื่อแคะเอาเนื้อในของหมากออกมาเป็น"หมากลูก" ที่แห้งแข็งกลมๆรีๆ เจ้าหมากลูกนี่คือสินค้าที่ส่งขายสู่ท้องตลาดที่มารับซื้อถึงที่ และที่นำออกไปขายยังตลาดรับซื้อ สนนราคาไม่ได้ความนักเพราะว่าผมไปเจอเอากะเหรี่ยงพูดไทยไม่ได้ หลังบ้านหรือที่ว่างๆจะปลูกหมากแทบทุกหลังคาเรือน
 
ร้านขายของชำเล็กๆ ซุปเปอร์มาร์เก็ตกลางป่า
            ไม่น่าแปลกใจทำไมกะเหรี่ยงฟันดำ วัฒนธรรมการกินหมากของชาวกะเหรี่ยง กินกันทั้งหยิงและชาย พอเริ่มโตก็เริ่มกินเพื่อย้อมฟันให้ดำ ถ้าฟันไม่ดำก็ไม่งาม เป็นงั้นไป กะเหรี่ยงจึงปลูกหมากทุกครัวเรือน ปลูกมากน้อยขึ้นอยู่กับฐานะ ที่ดินที่มีอยู่ มาอยู่เก่าหรือเพิ่งย้ายเข้ามาอยู่ แต่เมื่อปลูกมากก็เหลือกินเหลือใช้กลายเป็นสินค้าไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินตรา เป็นสิ่งของต้องประสงค์ เป็นความพอเพียงที่เกิพอดี 
 
ท่ามกลางถนนราดฝุ่นในหมู่บ้านเลตองคุ
              เมื่อผมเดินต่อไปได้เห็นชายสามคน สองคนขี่มอเตอร์ไซด์ส่วนอีกคนสมบูรณ์มากอ้วนท้วนดี กำลังเดิน ทุกคนนุ่งโสร่ง โพกผ้า(โกพะธิ) สีแตกต่างกันไปตามชอบ ไม่มีข้อจำกัดว่าใครจะใช้สีใด ถักทอด้วยลวดลายไหน แล้วผมที่ยาวย้วยของเหล่าชายทั้งหลายนี้เขาปล่อยให้ยาวโดยไม่มีการตัดออกเลย เขามุ่นมันไว้เหนือหน้าผาก แล้วมัดรัดด้วยผ้าโกพะธิสีสวยๆ เหมือนพระเอกลิเกที่มีที่คาดผม แตกต่างจากพระฤาษีในหนังหรือละครพื้นบ้านไทยภาคกลางที่มักปล่อยผมยาวหนวดเครารุงรัง
 
บริสุทธิ์สดใสด้วยวัยเยาว์
              ผมเห็นเด็กสาวๆ และเด็กเล็กๆ สวมใส่เสื้อผ้าทรงกระสอบสีขาวขลิบชมพูหรือสีบานเย็นเป็นแถบยาว ชุดนี้ใส่เฉพาะเด็กทั้งชายหญิง และเน้นเลยว่า ถ้ายังไม่แต่งงานก็ต้องใส่ชุดนี้ไปจนตาย ใครเห็นก็รู้เลยว่าอนงค์นี้ยังโสดอยู่จ้า เขาเรียกชุดนี้ว่า เชวา หรือบางทีก็เรียกว่า "มึกะเหนาะ"แต่ที่เห็นสีขาวแทบไม่เหลือแล้ว  
 
เด็กๆบริสุทธิ์และน่ารัก
               ผมโชคดีที่ได้อ่านหนังสือชื่อว่า "เชวาตัวสุดท้าย"ของโถ่เรบอ นักเขียนชาวปกาเกอะญอจากถิ่นล้านนา เขาเขียนถึงสาวแก่ที่ต้องใส่เชวาตัวนั้นตลอดชีวิตเพราะว่าไม่ได้แต่งงาน แม้เธอจะเฝ้ารอเนื้อคู่อยู่ทุกวันด้วยความหวัง แม้เธอจะขยันขันแข็งและงดงาม แต่ก็ไม่มีใครมาขอแต่ง เธอต้องใส่ชุดขาวทรงกระสอบไปจนตาย  
 
พ่อบ้านและแม่บ้านนั่งเล่นริมระเบียง
              แล้วผมก็ได้เห็นกะเหรี่ยงนั่งบนบ้านกลุ่มหนึ่ง สวมใส่ชุดผ้าซิ่นตีนจกทอด้วยมือสีแดงเป็นหลัก สวมเสื้อผ่าอก เป็นหญิงแต่งงานแล้ว เรียกชุดของเธอว่า เชมุกิ(มึก้า) หรือบางทีก็เรียกว่า เชมูตู นี่คือ วัฒนธรรมเกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่มของชนเผ่าหนึ่ง มักใช้สีแดงเป็นสีหลัก ลวดลายแล้วแต่ภูมิปัญญาของแต่ละคน
พ่อบ้านและแม่บ้านนั่งเล่นริมระเบียง
              แล้วผมก็ได้เห็นกะเหรี่ยงนั่งบนบ้านกลุ่มหนึ่ง สวมใส่ชุดผ้าซิ่นตีนจกทอด้วยมือสีแดงเป็นหลัก สวมเสื้อผ่าอก เป็นหญิงแต่งงานแล้ว เรียกชุดของเธอว่า เชมุกิ(มึก้า) หรือบางทีก็เรียกว่า เชมูตู นี่คือ วัฒนธรรมเกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่มของชนเผ่าหนึ่ง มักใช้สีแดงเป็นสีหลัก ลวดลายแล้วแต่ภูมิปัญญาของแต่ละคน
 
ผู้ชายคาดผมด้วยผ้าหลากสีกันทั้งหมู่บ้าน
              กะเหรี่ยงในหมู่บ้านเลตองคุมีอยู่ราว 200 หลังคาเรือน มีอยู่สองกลุ่มใหญ่ๆคือ กะเหรี่ยง สะกอ มักเรียกตัวเองว่าเป็น "ปกาเกอะญอ" แต่ทางการกลับไปเรียกกันว่ากะเหรี่ยงดอย มักอยู่ตามเขาสูงภาคเหนือและตะวันตกของประเทศไทย เช่นตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่
 
จำลอง บุญสอง หมอผี ผู้ใหญ่บ้านและผอ.สุรินทร์ ติเพียร
             ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่ากะเหรี่ยงโปว หรือ กะเหรี่ยงโพล่ว ทางการเรียกว่า กะเหรี่ยงน้ำ เพราะว่าชอบอยู่ทางพื้นราบๆเช่นกะเหรี่ยงกาญจนบุรี กะเหรี่ยงเพชรบุรี  
หมอผี
             ผมตอบไม่ได้ว่ากะเหรี่ยงสองกลุ่มนี้แตกต่างกันอย่างไร ภาษาที่ใช้ก็ภาษาเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีความเชื่อและวิถีชีวิตก็คล้ายคลึงกันมากๆ ส่วนศาสนาก็มีทั้งที่เป็นกลุ่มความเชื่อลัทธิฤาษี พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา   
ฤาษีกับมุ่นมวยผม
             ที่บ้านเลตองคุเป็นกะเหรี่ยงที่นับถือลัทธิฤาษี ผู้ชายทุกคนต้องเป็นฤาษีด้วยการไว้ผมยาว จะไม่มีการตัดผมเลย แม้แต่จะซอยออกก็ไม่ได้ ผู้ชายจะมุ่นมวยผมไว้เหนือหน้าผาก ส่วนผู้หญิงจะมุ่นมวยผมไว้ศีรษะ ตามบัญญัติ 10 ประการของฤาษีที่ประกาศไว้หน้าสำนักของท่าน  
 
การเทินของบนหัวนี้เหมือนในเมียนมาร์และอินเดีย
             หลังบ้านมี"ฉางข้าว"เล็กๆเอาไว้เก็บ"ข้าวไร่""ข้าวนา"เอาไว้กินตลอดทั้งปี แต่บางบ้านก็มีเพียงกะพ้อมที่สานด้วยไม้ไผ่ ยาด้วยขี้ควาย ด้วยว่าน่าจะมีนาข้าวน้อย  ใต้ถุนบ้านมีครกกระเดื่องไว้ตำข้าว แต่บางบ้านก็ไม่มี คงถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันใช้
 
ฉางข้าว
              บางบ้านต่อเป็นแคร่เตี้ยๆแล้วก็นั่งทำกิจกรรมกันที่นั่น แต่มีบางบ้านเขาเปิดเป็นร้านค้า เหมือนร้านค้าของชำประจำหมู่บ้าน ขายผัก ผลไม้ ของกินของใช้ จนกระทั่งขนมถุงก๊อบแก๊บที่วางขายไปทั่วประเทศ ผมเห็นกาละมังใบเขื่องใส่ปลาดุกผสมบิ๊กอุยและปลาสวาย เป็นอาหารเนื้อสัตว์ที่ยอมให้ฤาษีกินได้ เพราะว่าส่วนใหญ่กินแต่ผักกันทั้งหมู่บ้าน

            บัญญัติของลัทธิความเชื่อฤาษีมีเขียนไว้ที่หน้าสำนักฤาษี 10 ประการ นั่นคือสิ่งที่พี่น้องชาวกะเหรี่ยงต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แต่อย่างไรก็ดี ในหมู่บ้านเลตองคุกว่าสองร้อยหลังคาเรือนเหล่านี้ แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มบ้าน มีทั้งกลุ่มที่ถือปฏิบัติเคร่ง งดอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ กินปลาได้ชนิดเดียวคือปลาหนังเช่นปลาดุก ปลาสวาย ต้องเป็นปลาไม่มีเกร็ด ในจำนวน 8 กลุ่ม ประมาณ 500 คน
 
ผู้ใหญ่บ้านเลตองคุ
             นอกจากนับถือฤาษีแล้ว ยังมีหมอผี หรือที่เรียกว่า "ผือหม้อ" ที่บ้านเลตองคุปัจจุบันนี้มีผู้ใหญ่บ้านหรือ "ซาปัว"  ชื่อ ไบโซ คีรีดุจจินดา อายุ 34 ปี มีเมีย 1 คน ลูก 4 คน มีชื่อเล่นๆว่า แบะเช เขาเป็นผู้ใหญ่บ้านที่ทางการเลือกตั้ง พูดภาษาไทยได้ชัดเจนและคล่องแคล่ว เวลาไปประชุมอำเภอเขาใส่เสื้อแขนยาวสีกากีเครื่องแบบเต็มยศ แต่นุ่งโสร่งสีแดงใส่รองเท้าหนังโก้ที่สุดในอุ้มผาง
             "เป็นผู้ใหญ่บ้าน ก็ต้องมีเมียเดียว ต้องซื่อสัตว์กับเมีย"เป็นตัวอย่างสามีที่ดีของชนเผ่า
 
ชุดเด็กและหญิงสาวบริสุทธิ์ เชวาหรือมึกะเหนาะ
             เดินเลยไปอีกหน่อยได้เห็นเด็กๆสาวเดินกันมาในชุดขาว ทุกคนเทินของบนศีรษะ เหมือนอย่างกับสาวอินเดีย สาวอาหรับบางเผ่าพันธุ์
ฤาษีชายไว้ผมยาวมุ่นไว้เหนือหน้าผาก คาดด้วยผ้าหลากสี
             แล้วผมก็ได้เห็นชายหนุ่มกลุ่มหนึ่งกำลังจักสานอะไรสักอย่างด้วยไม้ไผ่ที่มีอยู่อย่างหนาแน่น เขาทำงานกันเงียบๆ เว้นแต่มีบางคนช่างคุย
 
เด็กน้อยน่ารักกับลูกหมาที่เธอเลี้ยงไว้
             ผู้หญิงกะเหรี่ยงในชุดแต่งงานแล้ว เดินเข้าสะเอวด้วยเด็กๆ"กะเตง" น่าจะเป็นลูกของเธอนั่นแหละ ใต้ถุนบ้านหลังหนึ่งเด็กหญิงตาบ้องแบ้วนั่งเล่นกับลูกหมาดูช่างน่ารัก เป็นอีกภาพที่สวยงามจับจิตจับใจ ที่น่าแปลกใจก็กะเหรี่ยงเหล่านี้ชอบติดกล้วยไม้ไทยๆพันธุ์แท้เช่นเอื้องผึ้ง เอื้องมอนไข่ ไว้ตามต้นไม้หน้าบ้าน สวยดี
 
ผู้หญิงแต่งานแล้วกะเตงลูก และมุ่นมวยผมบนศีรษะ
             เป็นหมู่บ้านที่มีร่มไม้ใบบังมาก มากจนแลดูไปทางไหนก็เขียวขจี มีต้นมะพร้าว ต้นหมาก ต้นทุเรียน ต้นเงาะ ต้นระกำ ต้นลองกอง เหมือนสวนผสมในภาคใต้ของบ้านเรา  ทั้งนี้ก็ด้วยสภาพภูมิประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น แต่หนาวเย็นในช่วงกลางคืน รับลมและฝนจากลมมรสุมเต็มๆ จากฝั่งทะเลอันดามัน
 
ฟากที่ทำจากไม้ไผ่จากป่าดงสร้างบ้าน
ฟืนที่ต้องใช้ทุกครัวเรือน
ไม้แปรรูปที่น่าจะเป็นบ้านผู้มีฐานะ
หวายชนิดหนึ่งซึ่งใช้ใบมุงหลังคา


หลวงพ่อ

คุณวรพร ทองดีเลิศ ผู้อยู่รับใช้หลวงพ่ออุตตมะนาน 24 ปี เล่าว่าหลวงพ่ออุตตมะเคยมีประสบการณ์ในการมองเห็นพญางูยักษ์ในเขตป่าเมืองกาญจนบุรี บริเวณรอยต่อของแผ่นดินไทยกับพม่า ห้วงพ.ศ.2500 กว่าๆ ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่างที่หลวงพ่อเพิ่งจะเข้ามาอยู่อำเภอสังขละไม่นานปี

เรื่องนี้คุณวรพร บอกว่าได้ยินจากปากของหลวงพ่อด้วยตัวเอง ซึ่งเมื่อได้ยินแล้วจะนึกเห็นภาพพญางูยักษ์นั้นใหญ่โตมโหฬารขนาดขบวนตู้รถไฟหรืออาจจะกว่านั้น

มูลเหตุที่ได้พบเห็นพญางูยักษ์นั้น หลวงพ่ออุตตมะเล่าว่า รับนิมนต์จากค่ายตำรวจตระเวนชายแดนแห่งหนึ่ง ตำรวจตระเวนชายแดน 4-5 นายเอารถจิ๊ปมารับหลวงพ่อเข้าค่ายซึ่งอยู่ในป่าลึกชิดชายแดน ขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุประมาณ 50 ปี (ปัจจุบันอายุ 96 ปี และกำลังอาพาธอยู่โรงพยาบาลศิริราช)

ระหว่างเดินทางโดยรถจิ๊ปของตำรวจตระเวนชายแดน หลวงพ่อปวดปัสสาวะ คณะตำรวจตระเวนชายแดน 4-5 นายจึงให้หยุดรถตรงบริเวณที่เป็นทุ่งโล่งกว้างใหญ่ในหุบเขา

โดยที่ไม่ทันได้สังเกตุแต่แรก ทุกคนได้เห็นพญางูยักษ์เลื้อยผ่านทุ่งโล่งอย่างช้า ๆ และไม่มีอาการว่าจะแสดงความสนใจหลวงพ่อและตำรวจตระเวนชายแดน 4-5 นาย ทว่าตำรวจตระเวนชายแดน 4-5 นายนั้นตกตะลึงพรึงเพริดไปแล้ว

ขนาดของงูยักษ์นั้นยากจะบรรยาย แต่ความยาวของพญางูคงจะพอกำหนดขนาดได้ คือ หัวของพญางูเลื้อยไปถึงเขาลูกข้างหน้าแล้ว แต่หางยังอยู่เขาอีกลูกหนึ่ง

เมื่อตำรวจตระเวนชายแดนหายจากตกตะลึงก็ขยับปืนจะยิงพญางูยักษ์ หลวงพ่อก็ห้ามเอาไว้

“อย่านะ ปืนยิงไม่ออกนะ”

หลังจากนั้นหลวงพ่อจึงอธิบายว่า อย่าเห็นว่าเขาเป็นแค่งู เขาต้องสร้างบารมีมาไม่น้อยจึงมีขนาดใหญ่โตปานนั้น ถ้าเจ้าจะยิงเขาจริง ๆ พวกเจ้าคิดว่าปืนจะทำอะไรเขาได้ และถ้าเขาพยาบาท บ้านช่องพวกเจ้าจะเหลืออะไร แค่งูเห่าตัวเล็ก ๆ ยังรู้จักพยาบาท งูใหญ่ขนาดนั้นพยาบาทจะน่ากลัวแค่ไหน

อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อไม่ได้เอ่ยว่า พญางูยักษ์ที่ได้เห็นนั้นเป็นพญานาค ท่านเอ่ยแต่ว่าเป็นพญางูเท่านั้น

เกี่ยวกับเรื่องงู หลวงพ่อมีเรื่องพัวพันกับงูที่น่าสนใจมาก เรื่องนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือ “อุตตมะ 84 ปี” เรียบเรียงโดย นายทรงวิทย์ แก้วศรี ดังนี้

“เรื่องของงู

วันหนึ่งผู้ใหญ่ซวยฉ่องป่วยหนัก หลวงพ่อได้ข่าวก็เป็นห่วงมาก เพราะผู้ใหญ่ซวยฉ่องเป็นผู้มีอุปการคุณต่อหลวงพ่อและทางวัด วันนั้นฝนตกพรำ ๆ อากาศมืดสลัว หลวงพ่อรับนิมนต์ไปสวดมนต์ที่นิเถะ พอฝนซาก็กระวีกระวาดจะไปบ้านผู้ใหญ่ซวยฉ่องซึ่งอยู่ริมดงสัก เส้นทางนั้นต้องเดินผ่านโรงพัก ตาแลขี้เมาเห็นหลวงพ่อผ่านมาก็ร้องถามว่าจะไปไหน หลวงพ่อตอบว่าจะไปบ้านผู้ใหญ่ซวยฉ่อง ตาแลจะไปด้วยกันไหม ตาแลบอกว่าจะมืดแล้ว (ขณะนั้น 5 โมงครึ่ง) อย่างไปเลย ที่ดงสักมีงูเห่าตัวใหญ่มาฉกวัวตาย เจ้าของวัวยังมาขอให้ตำรวจไปยิงงู หลวงพ่อได้ยินก็ห้ามตาแลว่าอย่าไปยิงเลย จากนั้นท่านเดินต่อไป ตาแลเป็นห่วงจึงตามหลังมาด้วย พอถึงดงสักพบงูเห่าพอดี อยู่ตรงที่กัดวัวตาย งูนั้นมีขนาดลำตัวเท่ากระติกน้ำขนาดกลาง ความยาว 3 วา กลิ่นสาปรุนแรงมาก ตอนแรกงูขดตัวอยู่ พอเห็นหลวงพ่อก็ชูหัวท่อนบนขึ้นแผ่พังพานใหญ่และยกตัวขึ้นสูงกว่าหลวงพ่อเสียอีก

หลวงพ่อยืนแผ่เมตตาให้งู ส่วนตาแลร้องว่าแผ่เมตตาไม่ไหวแล้ว ถ้าไม่หนีก็ต้องยิงล่ะ เก็บไว้ก็จะเป็นอันตรายต่อสัตว์และมนุษย์ หลวงพ่อบอกว่า อย่าพูดเชียวนะว่าจะฆ่าเขา งูเขารู้ เดี๋ยวเขาตามไปถึงบ้านเลย แล้วท่านก็พาตาแลหลีกทางไปให้พ้นงู

อยู่มาอีก 3 วัน มีคนมานิมนต์หลวงพ่อไปรักษาคนป่วยที่หมู่บ้านวังกะล่าง ระหว่างทางหลวงพ่อได้ยินเสียงชาวบ้านเอะอะอยู่กลางทุ่งนา นึกว่าพวกมอญ กะเหรี่ยง และละว้าตีกัน เพราะได้ยินเสียงหลายภาษาขรมไปหมด จึงแวะเข้าไปดู เห็นมอญ กะเหรี่ยง ละว้า ล้อมงูใหญ่อยู่ เป็นงูเห่าตัวที่หลวงพ่อเคยห้ามตาแลไม่ให้ยิงนั่นเอง งูกำลังแผ่พังพานทำท่าสู้ ชาวบ้านบอกว่า งูตัวนี้ออกมาจากรูหรือจากป่าก็ไม่รู้ สงสัยว่ากำลังจะเลื้อยขึ้นเขา หลวงพ่อจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นไปล้อมเขาไว้ทำไม ชาวบ้านบอกว่า เนื้องูอร่อยดีและตัวนี้น่าจะได้เนื้อหลายกิโล

หลวงพ่อมีความเมตตางูตัวนั้น จึงบอกกับชาวบ้านว่า งูตัวนี้เขามาเฝ้าหลวงพ่ออยู่ เพื่อไม่ให้งูตัวอื่นมาทำร้าย เป็นงูของเจ้าป่าเจ้าเขา ชาวบ้านได้ยินเลยยกมือไหว้งู แล้วพากันแยกย้ายจากไป

เรื่องของงูใหญ่ยังมีอีกมาก หลวงพ่อเล่าว่า งูใหญ่ลอกคราบ 3 ปีต่อครั้ง เวลาลอกคราบจะอ่อนแอ ต้องอยู่ในรู แต่งูใหญ่มักมีเดชะ สามารถอธิษฐานเอาดินวงล้อมปากรูไว้ สัตว์ (หรือมนุษย์) หลงเข้าไปจะงงงวยหาทางออกไม่ถูก”

เกี่ยวกับการฆ่างูนั้น หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม เคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าอยากให้พญานาครักเรา อย่างไปฆ่างู” เข้าใจว่าบรรดางูน้อยใหญ่สารพัดชนิดล้วนเป็นบริวารของพญานาค ดังที่ปรากฏอยู่ในตำนานหลายเรื่อง

คุณวรพร เมื่อเล่าเรื่องหลวงพ่อพบพญางูยักษ์ให้ฟังแล้ว ได้กล่าวย้ำว่า ถ้าเป็นชาวพุทธจำเป็นต้องเชื่อว่าพญานาคมีจริง มีฤทธิ์มีคุณ มีเดชะอานุภาพจริง
  
แต่ว่าพญานาคทั้งมวลก็คงจะเหมือนมวลมนุษย์ชาติในโลกที่มีหลากหลายชาติพันธ์ หลายลักษณะ ทั้งผิวขาว ผิวดำ ผิวเหลือง ทั้งยังมีหลายศาสนา และแม้แต่ไม่มีศาสนา มีทั้งใจดีและใจร้าย มีทั้งประพฤติธรรมและไม่ประพฤติธรรม ครั้นเมื่อรวมพวกเขาไว้ด้วยกันแล้วเขาก็คือ พญานาค หรือรวมทุกชาติพันธ์ของมนุษย์ก็คือมนุษย์ด้วยกัน ถ้ามีมนุษย์ต่างดาวบุกเข่นฆ่ามนุษย์สักเผ่าพันธ์หนึ่ง มนุษย์ทุกเผ่าพันธ์ที่เหลือย่อมรวมตัวกันสู้ เฉกเช่นเหล่าพญานาคเมื่อลูกหลานบริวารถูกรังแกเข่นฆ่า พวกเขาก็จะลงมือกับผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพวกเขา
  
ดังนั้นคำพูดของหลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม จึงเป็นคำพูดที่ควรจะให้ความสนใจเป็นพิเศษ แม้แต่คำพูดของคุณวรพรก็ควรจะให้เป็นข้อพิจารณาว่าเราเป็นชาวพุทธหรือไม่ เพราะว่าในพระไตรปิฏกหรือพุทธประวัติก็ได้ลงเป็นหลักฐานในการปรากฏตัวของพญานาคผู้ซึ่งมีความเลื่อมใสพุทธศาสนาเหมือนพวกเรา จึงเป็นเหตุให้ได้ยินจากปากพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลายองค์ที่ได้เล่าถึงการประสพพบเห็นพญานาคที่รักษาพุทธศาสนาตลอดมา

วีซ่า..พรมแดน

วีซ่าประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร

วีซ่าประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร นั้นเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติที่ต้องการเดินทางผ่านราชอาณาจักรไทยเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางอื่น เกณฑ์ที่ใช้ในการออกวีซ่าประเภทคือ ราชอาณาจักรไม่ใช่จุดหมายปลายทางของการเดินทางแต่เป็นการหยุดพักจากการเดินทางจากประเทศที่ออกเดินทางเพื่อไปอีกประเทศและในทางกลับกัน วีซ่าประเภทนี้ให้สิทธิผู้ถือในการอยู่ที่ประเทศไทยถึง 30 วัน การยืดเวลาสำหรับวีซ่าประเภทนี้อาจยืดเวลา 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้ถือไม่สามารถที่จะทำงานหรือธุรกิจในประเทศไทย

นอกเหนือจากนั้น ผู้ถือยังสามารถเดินทางไปยังประเทศที่ 3 ได้ (หมวด TS)  ข้อบังคับในเรื่องการเข้าเมืองนั้นสามารถพิจารณาได้จากชนิดย่อยๆของวีซ่าประเภทนี้
  • หมวด S : หมวดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยที่ต้องการจะเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬา (“วีซ่านักกีฬา”)
  • หมวด C : ผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยที่อยู่ในคามดูแลและเป็นส่วนหนึ่งของลูกเรือ ยานพาหนะที่จะเข้าสู่ท่าเรือ ,สถานี,เขตแดนต่างๆของประเทศไทย (“วีซ่าลูกเรือ”)
การได้มาซึ่งวีซ่า
  1. คุณลักษณะและคุณสมบัติ
    • ผู้ยื่นขอที่ต้องการจะเข้ามาในประเทศไทยเพื่อจุดประสงค์ดังนี้
      • ประเทภ TS: ผ่านเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจะเดินทางไปประเทศที่หมายหรือประเทศของตนเอง
      • ประเทภ S: เข้าร่วมในงานกีฬา
      • ประเทภ C: อยู่ในความดูแลหรือเป็นสมาชิกของลูกเรือ ยานพาหนะที่จะเข้ามาในประเทศ
  2. อกสารจำเป็น
    • หนังสือเดินทาง, มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 6 เดือน
    • อกสารการขอวีซ่า
    • รูปถ่ายสำหรับหนังสือเดินทาง ขนาด 4×6 เซนติเมต
    • ตั๋วเครื่องบินที่ได้รับการยืนยันและจ่ายเงินแล้ว (ถ้ามี)
    • การพิสูจน์หลักฐานทางการเงิน (20,000 บาทสำหรับส่วนตัว และ 40,000 บาทสำหรับครอบครัว)
    • วีซ่าสำหรับประเทศที่ 3 (ถ้าจำเป็น), สำหรับประเภท TS
    • จดหมายเชิญจากการแข่งขันกีฬา, สำหรับประเภท C
  3. ค่าธรรมเนียม
    • ประมาณ 20 เหรียญ ดอลล่าห์สาธารณะต่อการเข้า1ครั้ง (สามารถเปลี่ยนได้โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า
  4. อายุการใช้งาน,ช่วงเวลาที่จะอยู่,การยืดเวลา
    • วีซ่าประเภทนี้จะมีอายุ 3 เดือน (การเดินทางเข้าประเทศต้องทำภายใน90วันหลังจากมีการออกวีซ่า)
    • วีซ่าประเภทนี้อนุญาตให้ผู้ถืออยู่ได้ 30 วัน
    • วีซ่าประเภทนี้ สามาถยืดเวลาได้ 7-10วัน การยืดเวลาขึ้นอยู่กับดุลพินิจสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
  5. บันทึก
    • ถ้านักกีฬาต้องอยู่ในราชอาณาจักรนานกว่า 1 เดือน ต้องขอวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว ประเภท O