ตะกรุด ดำเป็นหนึ่งในสี่ตะกรุดที่เลื่องลือของหลวงพ่อฯ พุทธคุณด้าน ป้องกันภัย แคล้วคลาด คงกระพัน สภาพบุรุษ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้าหรือผู้ที่ต้องเดินทางไกลมักจะบูชาคล้องคอเพื่อเป็นสิริมงคลและคุ้ม ครอง ขวัญและกำลังใจในการปฎิบัติงานหรือหน้าที่ ขอบอกว่ามากมายด้วยประสบการณ์การที่จะให้สิ่งศักดิ์แผ่บารมีเกื้อหนุนคุ้ม ครองนั้น จิตใจของผู้ครอบครองนั้นก็เป็นสิ่งประกอบสำคัญที่ต้องยึดมั่นในความดี เมตตา ดังนั้นกุศลของผู้ที่ครอบครองประกอบกับพุทธคุณของหลวงพ่อในตัวตะกรุดก็จะส่ง ผลให้ความสำเร็จความเจริญเข้ามาสู่ชีวิต
แบ่งวัตถุมงคลของ หลวงพ่อฯกันไปบูชาครับ ราคาแบบเป็นจริงที่สุด ค่าบูชาตะกรุด+ค่ากรอบ+ค่าจัดส่ง +(ค่าน้ำมัน) ก็เหลือน้อยครับ รับจากมือหลวงพ่อบนกุฏิ ไม่ได้ไปเอาจากร้านที่ไหน อยากให้ได้ของดีแก่เพื่อนๆสมาชิกและครอบครัวทุกท่านไปบูชากัน
ขนาดของตะกรุดยาว 7.8 ซ.ม.เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ซ.ม.จัดส่งพร้อมรูปหลวงพ่อ+คาถาบูชา
หลวง พ่อจำลอง วัดเจดีย์แดง เป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียง ลูกศิษย์ ลูกหามากมายทั้งนอกและในตัวจังหวัดอยุธยาเอง สังเกตจากกิจนิมนต์ของท่านในงานพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่มีเกจิอาจารย์ชื่อ ดังมาร่วม ท่านจะเป็นหนึ่งในนั้นเสมอ ตอนที่กระแสจตุคามกำลังมาแรงหลวงพ่อไม่ค่อยได้อยู่วัดเพราะติดกิจนิมนต์แทบ ทุกวันวัตถุมงคลของท่านที่รู้จักกันดีและขึ้น ก็คือ ตะกรุดซึ่งตะกรุดของหลวงพ่อทำตามตำรับโบราณซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยา ทำจากตะกั่วรีดเป็นแผ่น ลงยันต์เฉลียวเพชร ม้วนกลมแล้วถักด้วยด้ายสายสิญจน์ นำมาลงรักปิดทอง
ตะกรุดของ ท่านมี 4 อย่าง คือ ตะกรุดดำ แดง สาริกา และตะกรุดไตรมาส ซึ่งพุทธคุณในแต่ละดอกหรือวาระการทำก็จะมีความคล้ายหรือแตกต่างกันออกไปบ้าง
ตะกรุด แดงให้พุทธคุณด้านเมตตามหานิยม เจรจา ค้าขายตะกรุดดำมีพุทธคุณด้านมหาอำนาจ แคล้วคลาด คงกระพันตะกรุด(คู่)สาริกามีพุทธคุณด้านเมตตา มหาเสน่ห์ เจรจา ค้าขายตะกรุดไตรมาส ปลุกเสกตลอดเข้าพรรษา รวมสุดยอดพุทธคุณ
ตะกรุด ของหลวงพ่อนั้นมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม ด้วยสีของแผ่นทองที่พันรอบตัวกับสีของตัวตะกรุด (ดำ,แดง) เมื่อนำมาใส่กรอบก็จะดูคล้ายเครื่องประดับที่พร้อมไปด้วยพุทธคุณที่หลวงพ่อ ได้บริกรรมคาถาใส่ในตัวตะกรุด
ตะกรุดดอกดำ รวมสุดยอดประสบการณ์เมื่อก่อนใครจะรับดอกดำต้องรับพาน (รับพานครู) ความหมายก็คือรับแล้วต้องลองเลย ซึ่งในปัจจุบันไม่ต้องแล้ว ท่านคงอยากให้ลูกศิษย์ลูกหาได้ของดีไว้ใช้เลยไม่ต้องรับพาน แต่ก็มีบางคนที่แน่วแน่ที่ขอรับพานครูในทันที เสียงหลวงพ่อบริกรรมคาถาพร้อมใช้มือลูบน้ำมนต์ลงไปที่หลัง หลวงพ่อในท่ากึ่งยืนกึ่งนั่งกดมีดแหลมคมลากเป็นแนวยาวทั่วหลังเป็นสิบครั้ง บนหลังมีแต่รอยลากนูนปนเลือดไหลซึมเป็นยางบอน แต่แผลไม่ฉีก พิจารณามีดที่หลวงพ่อส่งให้ดู สายตาทุกคู่และเสียงที่พึมพรำบนกุฏิอย่างอัศจรรย์ เหตุการณ์บนกุฏิยังติดตาผมและใครอีกหลายคนอยู่ เสียดายไม่ได้ติดกล้องไปด้วย
ตระ กรุดดำส่วนมากจะพบเห็นในเหล่าผู้ชาย วัยรุ่น โดยเฉพาะตำรวจ ทหาร ที่ต้องเดินทางไปปฏิบัติงานที่ภาคใต้ก็มาบูชาจากท่านไปก็พอสมควร ถ้าท่านทราบก็จะนำเหล็กมาจานที่ตัวตะกรุดให้ด้วย มีโอกาสพูดคุยกับพี่ๆทหาร บอกว่าจะนำไปติดตัวและให้เพื่อนเพราะมีประสบการณ์ตรงในพื้นที่ มีพี่มอเตอร์ไซด์รับจ้างขับมาคนเดียวจากคลองสี่ ปทุมฯ แกไม่เคยมา ขับไปถามทางเข้าวัดไป เสื้อวินก็ยังไม่ถอด มาเข้าแถวรอรับตะกรุดดำ เล่าว่าตอนเช้าเพื่อนที่วิน คุยท้าถึงความขลังของตะกรุดบนคอตัวเอง เลยท้านัดเอาปืนมายิงเพื่อพิสูจน์ ผลออกมาว่าดอกดำของหลวงพ่อ ยิงไม่ออก 4 ลูก ดูเสร็จขับรถมาเลย ดอกนี้แน่นอน พี่ถึงต้องมารับเอง ใจร้อนเรื่องลองยิงอย่างนี้ผมก็เคยเจอตำรวจลองของในสนามยิงปืน ติดตะกรุดของสำนักต่างๆ บนเป้า ที่ระยะ 2 เมตร สิ่งที่เกิดคือของหลวงพ่อ ยิงไม่ออก ก็ถึงกับประหลาดใจ อีกคนที่มาด้วยหยิบปืนขึ้นมาเล็ง ครู่นึงต้องวางปืนบอกใจมันไม่นิ่ง ก็อดประหลาดใจว่าใช่พุทธคุณในตัวตะกรุดหรือไม่ ส่วนสำนักอื่นที่ลอง เดาเอาเองครับ ถ้าประสบการณ์ตรงผมก็เรื่องขับรถแล้วเผลอหลับใน อยู่ดีๆสะดุ้งตื่นมาเหยียบเบรกทันเลยผ่อนหนักเป็นเบา (วันนั้นขึ้นคอทั้ง 3 ดอกเลย) เคล็ดนิดหน่อย ซ่อมรถไปหลักหมื่นตะกรุดแดงและสาริกาขนาดจะเล็กลงมาตามลำดับ สาวๆที่ทำงานผมก็ใส่ขึ้นคอกันครับ เพราะผมเล่าให้ฟัง ก็เลยฝากผมบูชามาให้ใส่กรอบสวยๆ ตอนนี้ก็ดีขึ้นเป็นลำดับครับ ทำงานไม่ติดขัดอะไร การเงินก็เริ่มดีขึ้น ถ้าใจเราศรัทธาพุทธคุณก็นำพาและเสริมส่ง นี่เห็นผมเหน็บตะกรุดคู่สาริกาที่กระเป๋าเสื้อแล้วดูสวย ก็จะฝากบูชากันอีก เพราะรู้สึกว่าทำงานเข้าตาเจ้านาย พ่อค้าแม่ค้าที่ค้าขายก็คล้องคอกันอยู่ครับคล้องคู่เลย แดง + สาลิกา ยกตัวอย่างร้านขายก๋วยเตี๋ยวแถวงามวงศ์วาน คนแน่นทุกวัน ใบ้ให้ว่าเป็นร้านเย็นตาโฟตะกรุดไตรมาส ซึ่งเป็นตะกรุดที่หลวงพ่อท่านได้อธิฐานจิตปลุกเสกตลอดเข้าพรรษา 3 เดือน ในโบสถมหาอุตและให้บูชาในวันออกพรรษาเพียงวันเดียว ที่บอกว่าเพียงวันเดียวนั้นหมายความว่าเพียงวันเดียวก็บูชาจนหมด ซึ่งในวันออกพรรษานั้นจะมีศิษยานุศิษย์มาร่วมทำบุญและรอบูชาตะกรุดกันอย่าง เนื่องแน่น ตะกรุดไตรมาสจะมีสองขนาดจะมีขนาดใหญ่และเล็ก ขนาดใหญ่นั้นจะหายากเพราะท่านสร้างน้อยกว่าและราคาขอแบ่งบูชาจากคนที่มีก็ไป หลักเกือบครึ่งหมื่น ส่วนใหญ่ตะกรุดไตรมาสจะหาบูชายากกว่าตะกรุดแบบอื่นเพราะคนที่มีจะเก็บไว้ใช้ เองเพราะหายาก 1 ปี 1 ดอก ราคาถ้าถามหาจากคนในพื้นที่เกินหลักพันแน่นอน
จริงๆ แล้วตะกรุดของหลวงพ่อทุกชนิดทุกดอก น่าจะมีพุทธคุณที่คล้ายกัน เพราะก่อนจะรับหลวงพ่อก็จะพรมน้ำมนต์และบริกรรมคาถากำกับด้วยเสียงที่เข้ม ขลัง ก่อนส่งให้กับมือ
ยุคนี้คล้องวัตถุมงคลของหลวงพ่อติด ตัวไปไหนดีกว่าใส่ทองครับ เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวใจ ให้ระแวดระวัง มีสติ ให้ทำสิ่งดี ไม่อันตราย พุทธคุณหลวงพ่ออยู่ข้างกาย คิดแค่นี้ก็อุ่นใจแล้วครับ


วัดเจดีย์แดง*
วัดเจดีย์แดง หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดแดง” ตั้งอยู่ที่บ้านแดง หมู่ที่ ๔ ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๙ ไร่ ๓ ตารางวา พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มประกอบด้วยสิ่งก่อสร้าง หรืออาคารเสนาสนะสำคัญๆ คือ อุโบสถก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร ศาลาการเปรียญสร้างด้วยไม้ ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๓๐ เมตร กุฏิ ๗ หลัง เป็นอาคารไม้ ๔ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๓ หลัง และหอระฆังก่ออิฐถือปูน๑
เมื่อพิจารณาแผนผังของวัดพบว่า ด้านหน้าของวัดหันไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังอยู่ใกล้กับแม่น้ำลพบุรีซึ่งเป็นเส้นทางไปออกโพธิ์สามต้น มีการแบ่งเขตออกเป็นเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาสด้วยทางเดินถนนคอนกรีตขนาด เล็ก เขตพุทธาวาสประกอบด้วยอุโบสถ เจดีย์ใหญ่ด้านหลังอุโบสถ และสระน้ำโบราณทางทิศใต้ขนาดใหญ่เกือบเท่าความกว้างยาวของอุโบสถ สิ่งก่อสร้างทั้งสามนี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ส่วนศาลาเล็กระหว่างอุโบสถและเจดีย์ใหญ่ และเมรุเผาศพ สร้างเพิ่มสมัยปัจจุบัน ส่วนเขตสังฆาวาสประกอบด้วย หมู่กุฏิ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ หอระฆังและเจดีย์ขนาดเล็กทรงหกเหลี่ยม และทรงแปดเหลี่ยม รวม ๒ องค์ ล้วนเป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายฉบับได้กล่าวถึงวัดนี้ว่าเป็นสถานที่ตั้ง ค่ายและชุมนุมพลของทั้งกองทัพไทยและกองทัพพม่า รวม ๓ ครั้งด้วยกัน
ครั้งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๓ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๑๐) กรุงกัมพูชาหรือเขมรเกิดความไม่สงบ เจ้านายเขมรคือ นักพระรามาธิบดีกับนักพระศรีไชยเชษฐา สู้รบกับญวนไม่ได้ จึงพาพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการและชาวเขมรหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารทางเมืองปราจีนบุรี สมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงเมืองปราจีนบุรีไปรับเข้ามายังพระนคร แล้วมีพระบรมราชโองการให้พระยาราชสุภาวดีเป็นแม่ทัพเกณฑ์คนจำนวนหนึ่งหมื่น คน โดยตั้งชุมนุมพลที่วัดพระเจดีย์แดง ยกทัพไปตีกรุงกัมพูชาสำเร็จ เขมรจึงตกเป็นประเทศราชของไทยอีกครั้งจนถึงเสียกรุง๒
ครั้งที่ ๒ และ ๓ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์หรือพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยาสน์อัมรินทร์ (พ.ศ. ๒๓๐๑ - ๒๓๑๐) กล่าวคือ
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๒ กองทัพพม่าภายใต้การควบคุมของพระเจ้าอลองพราญีมังลอง ทรงส่งทัพหน้าซึ่งตั้งค่ายใหญ่ ณ ตำบลโพธิ์สามต้น มีเนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพ ไล่กองทัพไทยภายใต้การนำของหมื่นทิพเสนา ปลัดกรมพระตำรวจในขวา และกองพลทหารจีนที่มาช่วยรบจนสามารถเข้ามาตั้งค่ายที่เพนียด วัดพระเจดีย์แดง และวัดสามพิหาร แล้วบังคับคนไทยให้ทำบันไดเป็นจำนวนมากสำหรับใช้พาดกำแพงปีนเพื่อปล้นเอา เมือง๑
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๐๘ ทัพพม่ายกเข้ามาทุกทิศทุกทาง พระเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้เกณฑ์กองทัพไปตั้งรับพม่า ณ ที่ต่างๆ ทัพหนึ่งจากเมืองนครราชสีมาตั้งค่ายอยู่ใกล้วัดพระเจดีย์แดง ทัพเมืองนครราชสีมาลงไปรักษาเมืองธนบุรี เมื่อทัพพม่าจุดไฟเผาปราสาทที่เพนียดแล้ว ก็ตั้งค่ายลงที่เพนียด วัดพระเจดีย์แดง วัดสามพิหาร ซึ่งตั้งอยู่ในเส้นทางเดียวกัน รวมทั้งที่วัดใกล้เคียงอื่นๆ โดยปลูกหอรบตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามาในกรุงทุกๆ ค่าย๒
โบราณสถานที่น่าชมภายในวัดเจดีย์แดง ได้แก่
อุโบสถ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคามุงกระเบื้องดินเผาที่เรียกว่า “กระเบื้องกาบกล้วย” ลวดลายประดับหน้าบันรวมทั้งช่อฟ้าใบระกาชำรุดหักพังไปหมด ด้านข้างมีชายคายื่นออกมาเล็กน้อย ด้านหน้าและด้านหลังมีมุข มุขแต่ละข้างมีเสารองรับสี่ต้น สองต้นติดกับผนังอุโบสถ และอีกสองต้นรองรับชายคา เป็นเสาสี่เหลี่ยมมีบัวหัวเสา ผนังเจาะเป็นช่องหน้าต่างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าข้างละ ๖ ช่อง เจาะช่องประตูด้านละ ๒ ช่อง ฐานอุโบสถมีลักษณะอ่อนโค้งแบบหย่อนท้องช้าง
บนลานประทักษิณที่ยกสูงจากพื้นดินประมาณ ๖๐ - ๗๐ เซนติเมตร เป็นที่ตั้งเสมาล้อมรอบ ๘ ทิศ เป็นเสมาเดี่ยวทำด้วยหินทราย ขนาดเล็กไม่มีลวดลาย แต่มีกระหนกที่เอว ตั้งอยู่บนฐานสูงก่ออิฐถือปูน ฐานเสมาประกอบด้วย ฐานเขียง ฐานสิงห์ ฐานบัว และฐานบัวกลุ่ม มีขนาดลดหลั่นกันขึ้นไปจนถึงตัวใบเสมา
ลักษณะอุโบสถและใบเสมา แสดงให้เห็นว่าเป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย (กำหนดอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔)
เจดีย์ใหญ่หลังอุโบสถ ปัจจุบันได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรแล้วด้วยการพอกปูนและทาสีใหม่ แต่ยังคงรูปแบบเดิมไว้ จากการสอบถามพระภิกษุ และชาวบ้าน ทราบว่าเรียกชื่อวัดตามลักษณะของเจดีย์องค์นี้ก่อนที่จะได้รับการซ่อมแซมที่ มองเห็นเป็นสีแดง เจดีย์แดงเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน (อิฐที่ใช้มีขนาดเล็กกว่าอิฐสมัยอยุธยาตอนต้นและตอนกลาง) ประกอบด้วยฐานประทักษิณสูงลานแคบมาก ฐานสิงห์ย่อมุมไม้ยี่สิบ คือย่อด้านละห้ามุมลดหลั่นกันขึ้นไป ถัดไปเป็นบัวกลุ่มปากระฆัง องค์ระฆังทรงกลมรูปทรงเพรียว จากนั้นเป็นบัลลังก์ ปล้องไฉนเป็นบัวกลุ่มซ้อนลดหลั่นกัน ๑๑ ชั้น ปลีและเม็ดน้ำค้างเป็นลักษณะของเจดีย์สมัยอยุธยาตอนปลายที่ให้อิทธิพลต่อมา ยังเจดีย์ทรงเครื่องสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น นอกจากนี้จะเห็นว่าลวดลายปูนปั้นประดับฐานสิงห์และลายเฟื่องอุบะ ประดับส่วนบนขององค์ระฆัง อาจทำขึ้นเพิ่มเติมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น บริเวณฐานเจดีย์ พบเศียรพระพุทธรูปสลักจากหินทรายสีขาว ขนาดไม่ใหญ่นัก สลักยังไม่เสร็จ พร้อมกับชิ้นส่วนใบเสมาหินทรายสีขาว ที่ส่วนปลายและกลางใบหรืออกเสมาสลักเป็นลวดลายดอกไม้ภายในเส้นขอบรูปสี่ เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลักษณะคล้ายกับใบเสมาที่วัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) ทั้งเศียรพระพุทธรูปและใบเสมา๑ คงสร้างขึ้นในยุคสมัยเดียวกัน
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ศิลปะและโบราณคดีที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดสามารถสันนิษฐานได้ว่า วัดเจดีย์แดง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ และเมื่อทรุดโทรมได้รับการบูรณะพัฒนามาโดยลำดับ
บรรณานุกรม
การศาสนา, กรม. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา,๒๕๒๕.
น. ณ ปากน้ำ. ศิลปบนใบเสมา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ,๒๕๒๔.
ศิลปากร, กรม. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และพงศาวดารหนือ เล่ม ๒ พระนคร :องค์การค้า
ของคุรุสภา,๒๕๐๔.
* นางสาวพัชรินทร์ ศุขประมูล ค้นคว้าเรียบเรียง
๑ กรมการศาสนา, ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๒๕), หน้า ๙๑.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น