9/22/2559

โคลท์...ม้าแก่...แต่เก๋า...

Colt Model 1911 A1
     ในปีค.ศ. 1920 เบราว์นิ่งได้ทำการปรับปรับโมเดล 1911 ในบางจุดเพื่อให้ตัวปืนสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเรียกปืนรุ่นที่ปรับปรุงใหม่นี้ว่า โมเดล 1911 เอ1 หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีการปรับปรุงใดๆอีกเลยจนกระทั่งปลดประจำการ จุดที่แก้ไขปรับปรุงเป็นจุดที่มักจะก่อให้เกิดปัญหากับผู้ใช้ทั่วไปซึ่งพบ หลังจากที่ผ่านการใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์ที่ได้จากสนามรบ
     นับจากปีค.ศ. 1920 ที่มีการพัฒนาโมเดล 1911 มาเป็นโมเดล 1911เอ1 เป็นต้นมาจนกระทั่งปลดประจำการปืนกระบอกนี้ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆทั้ง สิ้น โดยเฉพาะในด้านรูปลักษณ์ และระบบปฏิบัติการของปืน ยกเว้นในเรื่องของชิ้นส่วนประกอบที่มีการพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
     ในปีค.ศ. 1924 เอ็ม 1911 จำนวนหนึ่งที่ถูกส่งกลับมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้รับการพัฒนาในบางจุดเพื่อให้กลายเป็นเอ็ม  1911เอ1 ติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ค.ศ. 1937 จนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลงในปีค.ศ. 1954 ในส่วนของ เอ็ม 1911เอ1 ที่ผลิตออกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์นั้นยุติสายการผลิตลงในปี ค.ศ. 1942 จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่  2 ยุติลงจึงเริ่มทำการผลิตต่อ
     โค้ลท์ โมเดล 1911เอ1 ที่ผลิตโดยบริษัทโค้ลท์เพื่อป้อนให้แก่กองทัพสหรัฐฯประทับคำว่า   “COLT’S PT. FA. MFG.CO.”  เหนือคำว่า  “HARTFORD, CT. U.S.A.” ไว้ที่ด้านซ้ายของสไลด์ด้านหลังหมายเลขสิทธิบัตร และมีรูปลูกม้าผงาด หรือแรมพันท์โค้ลท์ประทับอยู่ที่ด้านหลังร่องกันลื่นท้ายสไลด์  มีคำว่า  “UNITED STATE PROPERTY” อยู่ที่โครงปืนด้านซ้ายบริเวณหน้าโกร่งไก และมีคำว่า “MODEL OF 1911 U.S. ARMY” หรือ “NAVY” อยู่ด้านขวาของสไลด์ นอกจากนี้ปืนที่ใช้ในกองทัพก็ยังมีเครื่องหมายของผู้ตรวจสอบของรัฐบาลสหรัฐฯ ประทับไว้ด้วย
     ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลสหรัฐฯก็ได้เกณฑ์บริษัทผู้ผลิตอาวุธปืนให้ช่วยกันผลิต เอ็ม1911เอ1 ให้เพียงพอกับความต้องการของกองทัพที่ต้องการเป้นจำนวนมากนอกเหนือไปจากบริ ษัทโค้ลท์ แล้วก็ยังมีบริษัท อิธาก้า, เรมิงตันแรนด์, ยูเนี่ยน สวิทช์ แอนด์ ซิกนั่ลและซิงเกอร์ มียอดการผลิตออกมาเพื่อใช้ในกองทัพสหรัฐฯประมาณ 2,695,212 กระบอก ซึ่งไม่ได้ใช้เฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่านั้น หากแต่ยังถูกนำไปใช้ในสงครามเกาหลี และสงครามเวียดนามอีกด้วย จนอาจกล่าวได้ว่าทุกแห่งที่มีความขัดแย้งและสหรัฐฯ มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องจะต้องมีโค้ลท์ เอ็ม1911เอ1 เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ

โค้ลท์ มาร์ค โฟร์ ซีรี่ 70/ซีรี่80 กัฟเว่อร์เม้นท์โมเดล

(Colt MK IV Series 70’/80’Government Model)

     โค้ลท์ทำการผลิตโมเดล 1911เอ1 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆต่อเนื่องมาจนถึงปีค.ศ. 1971 จึงมีการเปลี่ยนแปลงในด้านรายละเอียดของชิ้นส่วนเพื่อให้มีสมรรถนะที่สูง ขึ้น โดยพัฒนาเป็น”โค้ลท์ มาร์ค โฟร์ ซีรี่ 70 กัฟเว่อร์เม้นท์โมเดล” ทำการผลิตต่อเนื่องมาจนถึง
ปีค.ศ. 1983 ก็ขึ้นซีรี่ส์ใหม่เป็น”โค้ลท์ มาร์ค โฟร์ ซีรี่80 กัฟเว่อร์เม้นท์โมเดล”

     โค้ลท์มีการพัฒนาปืนในแบบโมเดล 1911เอ1”กั๊ฟเว่อร์เม้นท์ โมเดล” ของตนเองออกแบ่งเป็น 4 ช่วง คือ
     1. ปีค.ศ. 1911-1919     โมเดล 1911
     2. ปีค.ศ. 1920-1969     โมเดล 1911เอ1
     3. ปีค.ศ. 1971-1982     โมเดล 1911เอ1 ซีรี่ 70
     4. ปีค.ศ. 1983-ปัจจุบัน     โมเดล 1911เอ1 ซีรี่ 80

     การเปลี่ยนแปลงครั้งแรกจากโมเดล 1911 กับโมเดล1911เอ1 เป็นการเปลี่ยนองค์ประกอบภายนอกเป็นหลักใหญ่ ส่วนในการพัฒนาเป็นซีรี่ 70’ และซีรี่ 80’ เป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนภายใน เพื่อให้มีสมรรถนะในด้านต่างๆ และความปลอดภัยที่สูงสุด

โค้ลท์ มาร์ค โฟร์ ซีรี่ส์ 70 (Colt MK IV Series 70’Government Model)

     ในราวปีค.ศ. 1970 โค้ลท์ได้พัฒนาโมเดล 1911เอ1 ของตนออกมาภายใต้ ซีรี่ 70 ซึ่งเป็นปีที่ออกปืนรุ่นใหม่นี้จำหน่ายโดยเรียกปืนรุ่นใหม่นี้ว่า  มาร์ค โฟร์ ซีรี่ 70 (MK IV Series 70’) จุดที่มีการพัฒนาหือเปลี่ยนแปลงไปจากโมเดล  1911เอ1 ก็คือ เปลี่ยนสไล้ด์ให้มีความหนาหนักขึ้นอีกเล็กน้อย แก้มประกับด้ามทำด้วยไม้วอลนัท ฝังตราโค้ลท์รูปม้าลำพองทั้งสองด้านเจตนาให้เป็นปืนที่มีสมรรถนะอยู่ระหว่าง เอ็ม 1911เอ1 กับ เนชั่นแนล แม็ทช์  คือ มีความแม่นยำสูงกว่าเอ็ม 1911เอ1 แบบมาตรฐานใกล้เคียงกับเนชั่นแนล แม็ทช์ ในขณะเดียวกันก็มีความเชื่อถือได้ในระบบปฏิบัติการสูงกว่าเนชั่นแนล แม็ทช์ ใกล้เคียงกับเอ็ม 19111เอ1

     ความแม่นยำของปืนระบบออโต้ฯอย่างเอ็ม 1911 นั้นขึ้นอยู่กับการล็อคตัวของลำกล้องซึ่งหากปลายลำกล้องสามารถให้ตัวได้ก็จะ ส่งผลให้ความแม่นยำลดน้อยลง
โค้ลท์จึงออกแบบบู๊ชแบบบฃใหม่ขึ้นมาเพื่อ ล็อคจับลำกล้องให้แน่นขึ้น และทำการปรับแต่งด้วยมือ เรียกบู๊ชแบบนี้ว่า คอลเล็ท บาร์เรล บู๊ชชิ่ง(Collet Barrel Bushing) เป็นบู๊ชแบบมีขา 4 ขาและสามารถให้ตัวได้ ในขณะเดียวกันก็มีรอยคอดที่ขาทั้งสี่เพื่อจับกับลำกล้องให้แน่นขึ้น ไม่มีระยะหลวมคลอน ในขณะเดียวกันปลายลำกล้องก็พอกโตขึ้นมาอีกเล็กน้อย เจตนาเพื่อให้ได้ความแม่นยำสูงขึ้น แต่บู๊ชแบบใหม่ของมาร์คโฟร์ซีรี่ 70 ได้ก่อปัญหาให้เกิดขึ้นเพราะมีการชำรุดเสียหายอยู่บ่อยครั้งจนกระทั่งโค้ลท์ ต้องหันกลับมาใช้บู๊ชแบบเดิม
     มีทั้งแบบรมดำ และชุบนิเกิ้ล มีการผลิตออกมาทั้งในขนาด .45 เอซีพี, .38 ซูเปอร์,  9 มม.พาราฯ และ 9 มม.สไตเอ้อร์ซึ่งใน 9 มม.สไตเอ้อร์นี้เป็นปืนที่ผลิตเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายโดยเฉพาะ
     มาร์ค โฟร์ ซีรี่ 70 เริ่มการลำดับซีเรี่ยล นัมเบอร์ใหม่โดยขึ้นต้นด้วย “70G” ตัวเลข 70 หมายถึงปีที่พัฒนาขึ้นมาส่วน G เป็นตัวย่อของคำว่า”Government Model” ซเรี่ยล นัมเบอร์ 70G นี้ใช้กับปืนที่ผลิตระหว่างปีค.ศ. 1970-1976 จากนั้นก็เปลี่ยนเป็น G70 ภายใต้ความหมายเดิมใช้กับปืนที่ผลิตในระหว่างปีค.ศ. 1976-1980 และเปลี่ยนเป็น”70B” ในปีค.ศ. 1980-1983 อันเป็นปีที่มาร์คโฟร์ ซีรี่ 70 ยุติสายการผลิตลง และถูกแทนที่ด้วยมาร์ค โฟร์ ซีรี่ส์ 80

โค้ลท์ มาร์ค โฟร์ ซีรี่ส์ 80 (Colt MK IV Series 80’Government Model)

     ในปีค.ศ. 1980 โค้ลท์ก็พัฒนามาร์ค โฟร์ ซีรี่ส์ 70 อีกครั้งเป็น มาร์ค โฟร์ ซีรี่ส์ 80 นอกเหนือไปจากเรื่องการปรับปรุงศูนย์หลังให้มีใบศูนย์ที่สูงขึ้น และเปลี่ยนใบศูนย์หน้าเป็นแบบตัดลาดเพื่อให้จับเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วขึ้น แล้ว ในซี่รี่ส์ 80 นี้ยังได้รับการติดตั้งระบบนิรภัยเข็มแทงชนวนแบบอัตโนมัติ หรือ“ออโตเมติก ไฟริ่ง-พิน เซฟตี้”(Automatic Firing-Pin Safety)เพิ่มเติมขึ้นมาให้ด้วยซึ่งก็คือระบบ ดร็อป เซฟตี้(Drop Safety)เพื่อป้องกันปืนลั่นจากการหล่นกระแทกพื้น ระบบนี้จะปลดตัวเองโดยอัตโนมัติเมื่อมีการเหนี่ยวไกยิงเท่านั้น หากไม่มีการเหนี่ยวไกเข็มแทงชนวนจะถูกล็อคเอาไว้ตลอดเวลา ไม่สามารถเคลื่อนตัวไปกระแทกจอกชนวนของกระสุนที่ขึ้นลำเอาไว้ในรังเพลิงได้ อย่างเด็ดขาด

     อีกจุกที่มีความแตกต่างระหว่าง ซีรี่ส์ 70 กับซีรี่ส์  80 ก็คือ ระบบนกสับในจังหวะฮาลฟ์ ค็อคด์ ของซีรี่ส์ 70 ไม่สามารถเหนี่ยวไกให้นกสับลงไปได้ เนื่องจากแง่ที่ขาของนกสับจะล็อคจับกับแง่เซียร์อย่างมั่นคง แต่ในซีรี่ส์ 80 นอกจากจะมีช่วงบง้างตัวของนกสับที่ต่ำกว่าซีรี่ส์ 70 แล้วยังสามารถเหนี่ยวไกให้นกสับลงไปได้ด้วย แต่น้ำหนักของนกสับที่ฟาดลงไปบนท้ายเข็มแทงชนวนนั้นไม่มีแรงพอที่จะจุด ระเบิดกระสุนที่อยู่ในรังเพลิงได้

     ในปีค.ศ. 1997 โค้ลท์ปรับปรุงมาร์ค โฟร์ ซีรี่ส์ 80 อีกครั้ง เพื่อให้เป็นปืนที่มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยการติดตั้งศูนย์แบบทรี-ด็อท(Three-Dot) หรือจดขาว 3 จุดแทนศูนย์เดิม ทำให้ยิงได้รวดเร็ว และจับเป้าหมายในสภาพแสงน้อยได้ดีขึ้น

     ในซีรี่ส์ 80 นี้นอกเหนือไปจากจะผลิตด้วยเหล็กรมดำแล้ว ยังเป็นครั้งแรกที่โค้ลท์นำเอาสแตนเลสมาผลิตเป็นตัวปืน มีทั้งแบบบรัชด์ สแตนเลส(Brushed Stainless) หรือเนื้อด้านกับโพลีชด์ สแตนเลส(Polished Stinless) หรือแบบสแตนเลสปัดเงา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น