8/02/2559

รถไฟนอน ฉึกฉัก ฉึกฉัก......

การเดินทางด้วยตู้นอนนั้น มีหลายคนกังวลว่า...
จะปลอดภัยไหม?
จะมั่นใจได้แค่ไหน?
แล้วเหตุการณ์ที่ผ่านมาล่ะ?
อันนี้ผมบอกก่อนนะ ไอ้เรื่องเหตุการณ์ที่ผ่านมา เราอยากจำไหม ก็ไม่นะครับ แต่เมื่อมันเกิดขึ้นมันก็ต้องมีการป้องกันซ้อนเข้าไปอีก โดยนัยสำคัญนั้นสิ่งรอบข้างเรามันมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุทุกอย่างได้ตลอดเวลา แม้แต่การเดินถนน ก็อาจะเหยียบแผ่นกระเบื้องแล้วน้ำเน่ากระเด็นเข้าปาก หรือนั่งขรี้อยู่ในห้องน้ำฝาชักโครกอาจหนีบตูดได้เช่นกัน ซึ่งเรารู้ว่าทุกคนสามารถป้องกันความเสี่ยงในการเกิดเหตุด้วยตนเองในลำดับต้น และการป้องกันจากสภาพแวดล้อมโดยรอบหรือบุคคลที่ 2,3 ร่วมกันไป
เอาล่ะครับ มาพูดถึงความปลอดภัยบนรถไฟบ้างว่า มันมีมากน้อยแค่ไหน
ข้อมูลพื้นฐาน
ในขบวนรถไฟ 1 ขบวน จะมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ 2 - 3 ตำแหน่ง นั่นคือ
1. พนักงานรักษารถ (พรร.) เป็นเสมือนกัปตันของขบวนฝ่ายรถโดยสาร หรือรถสินค้า
2. พนักงานห้ามล้อ (พหล.) หรือตำแหน่งปัจจุบันคือพนักงานตรวจตั๋ว
3. ตำรวจรถไฟ (ตรฟ.) จะมีในขบวนที่เป็นรถทางไกล และเป็นรถที่มีความยาวของขบวนมาก
โดยการตรวจตรานั้นก็จะมีเป็นระยะๆ ตลอดการเดินทาง
แต่ในส่วนของตู้นอน หรือตู้นั่งปรับอากาศ ก็จะมีพนักงานประจำรายตู้เลยเช่นกัน เช่น
- ตู้นอนพัดลม
- ตู้นอนปรับอากาศ
- ตู้นั่งสำหรับผู้พิการ
- รถดีเซลรางสปรินเตอร์และแดวู (เป็น จนท.เอกชน)
เพื่ออำนวยความสะดวกไม่ว่าจะเป็นการดูแล หรือปูเตียง แบบนี้เป็นต้น
โดยกฎระเบียบแล้ว ตู้นอนนั้น จะมีการปิดล็อกตู้โดยสารในเวลา 22.00-05.00 ของการเดินทาง นั่นก็หมายความว่าจะไม่มีผู้ใดที่สามารถเดินผ่านไปมาระหว่างตู้โดยสารในขบวนที่เป็นตู้นอนได้ในยามวิกาล ซึ่งยกเว้นกรณีตำรวจรถไฟ หรือ พรร. ตรวจตรายามวิกาล ก่อนจะเข้ามาในตู้นอนได้ ก็จะต้องผ่านด่านจากพนักงานประจำตู้ก่อนนั่นเอง
ในตู้นอนตู้นึง จะมีผู้โดยสาร 36-40 คน ตามจำนวนที่นั่งของรถรุ่นนั้นๆ ซึ่งผู้โดยสารก็จะสลี๊ปปิ้ง (จะบิวตี้หรือไม่ก็แล้วแต่) กัน สูงสุด 40 ชีวิตในนั้นนั่นเอง
ซึ่งมันมีเหตุที่เกิดไหม บอกเลยว่า "ส่วนมากเกือบ 100%" ไม่มีเหตุเกิดหรอกครับ แต่ดั๊น หากมี Jackpot อีคนที่เป็นผู้โดยสารในตู้เนี่ย ดันเผิอกเป็นมิจฉาชีพปลอมตัวมาเป็นผู้โดยสาร แล้วขโมยของเนียนๆ มันก็มีเช่นกัน และแน่นอนว่าเราเองก็ไม่รู้หรอกว่ามันเป็นโจรหรือไม่ แค่คนเดินสวนกันบนถนนธรรมดาเรายังไม่รู้เลยว่ามันเป็นโจรป่าว
มันก็จะมีวิธี ‪#‎ป้องกันตัวเอง‬ แบบง่ายๆ ในการเดินทางครับ
นั่นก็คือ
1. เวลานอน ให้เอาชายผ้าม่านเตียง "สอดไว้ใต้ฟูก" แล้วเอากระเป๋าหรือของหนักทับไว้ใกล้ๆ อีกชั้น เพราะเมื่อคนไม่หวังดีเปิดเข้ามาเราจะรู้สึกตัว
2. ใช้ซองใส่ผ้าห่มให้เป็นประโยชน์ เอากระเป๋าเงิน หรือของมีค่า ใส่ในซองผ้าห่ม แล้วพับให้เล็ก วางไว้หัวนอนแล้วเอาหมอนหนุนทับลงไป มันก็ป้องกันได้อีกชั้นนึงเช่นกัน
3. กระดิ่งเรียกพนักงาน อยู่บริเวณหัวนอนของท่าน กดเรียกได้เลยครับ
4. คนที่นอนเตียงบน มันจะอยู่ระดับหัวของคนเดินพอดี ให้เอาชายผ้าซุกใต้ฟูก นอนทับของมีค่าเหมือนวิธีที่ 1-3 และเสริมไปอีกนิดคือ อย่าใส่ของมีค่าหรือเครื่องประดับเวลานอน ใครที่เป็นตู้เพชรตู้ทองเคลื่อนที่ก็ให้เก็บสถานะนั้นไปเสีย (ไม่ใช่แค่บนรถไฟนะ บางทีเดินถนน นั่งรถเมล์ ก็น่ากลัวนะครับนั่น)
5. การซื้อตั๋ว ต้องระบุเลยว่าคนเดินทางเป็นเพศใด เพราะมันจะแสดงในระบบขายตั๋ว ซึ่งคนขายตั๋วเขาจะถูกกำชับว่า "คนเพศตรงข้ามกันจะไม่ให้นอนเตียงล็อกเดียวกัน" เพราะมันจะรวมไปถึงการซื้อตั๋วชั้น 1 ที่เป็นห้องหับมิดชิดด้วยครับ ระบุเพศผิด มันก็จะไม่สบายใจเอาเปล่าๆ กับตัวคนเดินทางและพนักงานเอง
สำหรับผู้หญิงที่เดินทางคนเดียว และอยากเอาแบบ "เอ้อ กูสบายใจ" มีรถที่แยกสำหรับสตรีโดยเฉพาะด้วยครับ ซึ่งจะอยู่ในขบวนรถดังต่อไปนี้
- ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 1/2 กรุงเทพ - เชียงใหม่ - กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนที่ 67/68 กรุงเทพ- อุบลราชธานี-กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนที่ 69/70 กรุงเทพ-หนองคาย-กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 37/38 กรุงเทพ-สุไหงโกลก-กรุงเทพ
เลือกเดินทางได้ตามความสะดวกเลยครับ
เหตุอันตรายเบื้องต้นที่ผมแนะนำไป ไม่ได้หมายความว่า "รถไฟจะเกิดเหตุเป็นประจำ" ซึ่งก็มีการป้องกันให้ที่สุดแล้ว แต่เราก็ต้องเซฟตัวเองด้วย (เป็นกลไกทางธรรมชาติในการป้องกันตัวเอง) ลดการเป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพ (ที่เราก็ไม่รู้ว่าใคร) ปฏิบัติตัวเพื่อการเดินทางอย่างปลอดภัย สบายใจ ‪#‎สามารถประยุกต์ใช้‬ กับรถทัวร์ เครื่องบิน รถตู้ และ Taxi ได้เช่นกันครับ
ขอให้เดินทางอย่างมีความสุข ปลอดภัย และสบายใจครับ



























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น